ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
คำสำคัญ:
โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความคาดหวังในผลลัพธ์, คนพิการทางการเคลื่อนไหว, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและปฏิบัติงานในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน คู่มือการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน แบบประเมินสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว ตัวแบบที่มีชีวิต แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฟื้นฟูสมรรถ ภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว มีค่าความเชื่อมั่น .99 และแบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว มีค่าความเชื่อมั่น .99 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการทดลอง และค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการทดลอง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 14.840, p < .001 และ t = 20.430, p < .001 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรประยุกต์โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนนี้ในการพัฒนาบทบาทด้านการฟื้นฟูของ อสม. เพื่อเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการของ อสม. ซึ่งจะส่งผลให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2557). หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย ปีพุทธศักราช 2557. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.
จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อาภรณ์ ดีนาน, และรัชนี สรรเสริญ. (2554). ประสิทธิผลของรูปแบบการฟื้นฟูสภาพคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวแบบบูรณาการในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 232–241.
พรชุลี จันทร์แก้ว. (2555). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในอำเภอละงู จังหวัดสตูล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 7(1), 73–84.
พรนภา เจริญสันต์, รัชนี สรรเสริญ, และชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหวในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก, 53(11), 80–81.
พิมพวรรณ เรืองพุทธ, และวรัญญา จิตรบรรทัด. (2556). ความรู้และการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้พิการในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนนาเคียน ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 32–43.
ภิรญา จำปาศรี, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดนครปฐม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 76–88.
ยุพิน หงษ์วะชิน, อำนวย ปาอ้าย, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และวรางค์ภรณ์ ไตรติลานันท์. (2556). การพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 5(2), 61–78.
รัชนี สรรเสริญ, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, สมพร รักความสุข, วรรณรัตน์ ลาวัง, และเบญจวรรณ ทิมสุวรรณ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาคีเครือข่ายการดูแลคนพิการในชุมชนแบบเป็นหุ้นส่วน: กระบวนการ WE CAN DO by TIM. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(3), 17–36.
รัชนี สรรเสริญ, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(3), 32–48.
วัชราภรณ์ สิมศิริวัฒน์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, และนิสากร กรุงไกรเพชร. (2560). ผลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตน และพฤติกรรมการส่งเสริมการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(2), 94–104.
วันเผด็จ สนธิ์ทิม, และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. (2551). คู่มือหลักการพยาบาลฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
สนามชัย ถ้ำกลาง, และสมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมกับความต้องการของคนพิการเทศบาลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). สถิติจดทะเบียนคนพิการแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.msociety.go.th/article_attach/10429/15326.pdf
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ่อทอง. (2560). รายงานผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประจำปี 2560. ชลบุรี: ผู้แต่ง.
Bandura, A. (1997). Social foundations of thought and action: A Social Cognitive Theory. Michigan: Prentice-Hall.
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2012). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer.
World Health Organization. (2013). World report on disability. Retrieved from http://www.who.int/disabilities/world_report/2011/report
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน