การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ, การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรด้านวิชาชีพสุขภาพ จำนวน 16 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษา จำนวน 90 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 8 คน ระยะที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษา จำนวน 90 คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 24 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 8 คน และระยะที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบ เครื่องมือการวิจัยประกอบ ด้วย รูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แบบประเมินการรับรู้ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้กับสหสาขาวิชาชีพ มีความเชื่อมั่น .98 แบบประเมินทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ มีความเชื่อมั่น .83 และแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการในการเยี่ยมบ้านแบบสหสาขาวิชาชีพ ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติ paired t-test และ McNemar’s test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีกระบวนการสำคัญ คือ การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา การเยี่ยมบ้าน และการเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด 2) หลังเข้าร่วมการเรียนรู้ นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้กับสหสาขาวิชาชีพ และคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 3) การเยี่ยมบ้านครั้งที่ 3 ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความดันซิสโตลิกต่ำกว่าการเยี่ยมบ้านครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางการศึกษาด้านสุขภาพควรนำรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพนี้ ไปใช้ในการพัฒนานักศึกษาให้มีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดี และทำให้ผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้รับบริการดีขึ้น
References
กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, อัจฉรา คำมะทิตย์, นพรัตน์ ธรรมวงษา, และอัจฉรา อาสน์ปาสา. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชานวัตกรรมทางการพยาบาลด้วยการเรียนรู้แบบสหสาขาอาชีพต่อความพร้อมต่อการเรียนรู้แบบสหสาขาอาชีพ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 126–139.
เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์, นิษฐนันท์ อนุสรณ์ประเสริฐ, และฮารูน สาดหลี. (2560). ผลของระบบเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงประเภท 3 แบบ Home nursing care (HNC) ในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 73–85.
รัตนพร เสนาลาด, และวิระพล ภิมาลย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้ตามเป้าหมายและความถูกต้องของการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 34(6), 575–586.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.
วิรัญชน์ ตวงสุวรรณ, และอรัมษ์ เจษฎาญานเมธา. (2559). ผลจากการมีส่วนร่วมของเภสัชกรในการเยี่ยมบ้านในทีมสหสาขาวิชาชีพต่อความดันโลหิตและความร่วมมือการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(1), 48–57.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. (2562). การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. สืบค้นจาก https://spk.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282 fd28180 eed7d1cfe0155e11
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สุณี เศรษฐเสถียร. (2558). รูปแบบการเรียนแบบสหวิชาชีพ ณ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 25(2), 65–70.
สุมาพร สุจำนงค์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, และนิรัตน์ อิมามี. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 20–30.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง, และรุ่งนภา จันทรา. (2562). การศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21: สมรรถนะและบทบาทของอาจารย์พยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 12–20.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์, และดาราวรรณ รองเมือง. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 140–152.
อัศนี วันชัย, ชนานันท์ แสงปาก, และยศพล เหลืองโสมนภา. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดในการศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 105–115.
Abramoff, B. A. (2013). Measuring attitudes toward interprofessional education and views of health professionals in pre-licensure students taking an interdisciplinary health education course (doctoral dissertation). The Ohio State University.
Burns, N., & Grove, S. K. (2005). Using statistics to examine relationships. In N. Burns & S. K. Grove. (Eds.), The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization (pp. 486–700). St. Louis, MO: Elsevier.
Cavanaugh, J. J., Lindsey, K. N., Shilliday, B. B., & Ratner, S. P. (2015). Pharmacist-coordinated multidisciplinary hospital follow-up visits improve patient outcomes. Journal of Managed Care & Specialty Pharmacy, 21(3), 256–260. doi:10.18553/jmcp.2015.21.3.256
Curran, V., Hollett, A., Casimiro, L. M., Mccarthy, P., Banfield, V., Hall, P., ... & Wagner, S. (2011). Development and validation of the interprofessional collaborator assessment rubric (ICAR). Journal of Interprofessional Care, 25(5), 339–344. doi:10.3109/13561820.2011.589542
Curran, V. R., Heath, O., Kearney, A., & Button, P. (2010). Evaluation of an interprofessional collaboration workshop for post-graduate residents, nursing and allied health professionals. Journal of Interprofessional Care, 24(3), 315–318. doi:10.3109/13561820903163827
Darlow, B., Coleman, K., McKinlay, E., Donovan, S., Beckingsale, L., Gray, B., ... & Pullon, S. (2015). The positive impact of interprofessional education: A controlled trial to evaluate a programme for health professional students. BMC Medical Education, 15(1), 98. doi:10.1186/s12909-015-0385-3
Fortuna, R. J., Nagel, A. K., Rose, E., McCann, R., Teeters, J. C., Quigley, D. D., ... & Rocco, T. A. (2015). Effectiveness of a multidisciplinary intervention to improve hypertension control in an urban underserved practice. Journal of the American Society of Hypertension, 9(12), 966–974. doi:10.1016/j.jash.2015.10.004
Lapkin, S., Levett-Jones, T., & Gilligan, C. (2013). A systematic review of the effectiveness of interprofessional education in health professional programs. Nurse Education Today, 33(2), 90–102. doi:10.1016/j.nedt.2011.11.006
Opina-Tan, L. A. (2013). A pilot implementation of interprofessional education in a community-academe partnership in the Philippines. Education for Health, 26(3), 164–171. doi:10.4103/1357-6283.125992
Reeves, S., Perrier, L., Goldman, J., Freeth, D., & Zwarenstein, M. (2013). Interprofessional education: Effects on professional practice and healthcare outcomes (update). Cochrane Database of Systematic Reviews, 2013(3). doi:10.1002/14651858.CD002213.pub3
Vaughn, L. M., Cross, B., Bossaer, L., Flores, E. K., Moore, J., & Click, I. (2014). Analysis of an interprofessional home visit assignment: Student perceptions of team-based care, home visits, and medication-related problems. Family Medicine, 46(7), 522–526.
World Health Organization. (2010). Framework for action on interprofessional education & collaborative practice. Retrieved from http://apps.who.int/iris/ bitstream/10665/70185 /1/WHO_HRH _HPN_10.3_eng.pdf
Zanotti, R., Sartor, G., & Canova, C. (2015). Effectiveness of interprofessional education by on-field training for medical students, with a pre-post design. BMC Medical Education, 15(1), 121. doi:10.1186/s12909-015-0409-z
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน