ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ สมปอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนัดดา แนบเกษร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง แบบประเมินอาการทางจิต แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .95 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2562 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, independent t-test และ two-way repeated measures ANOVA โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมี คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 2) ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคทางจิตเวชหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. (2559). รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2559. ปราจีนบุรี: ผู้แต่ง.

กุลธิดา พานิชกุล, และอติพร สําราญบัว. (2556). การประยุกต์ใช้โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Transtheoretical Model) เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(1), 66–76.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. (2559). รายงานผลการปฏิบัติงาน ประจำปี 2559. ปราจีนบุรี: ผู้แต่ง.

ชนัดดา แนบเกษร. (2560). เอกสารประกอบคำสอนรายวิชา 10650360: การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ญภา ภัคฐิติพันธ์. (2558). ผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อภาระการดูแลและพลังสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เนตดา วงศ์ทองมานะ. (2551). ผลของโปรแกรมจิตสังคมบำบัดต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริวัตร ไชยน้อย. (2546). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2540). ตราบาปและโรคทางจิตเวช. วารสารสวนปรุง, 13(1), 17–33.

พิเชฐ อุดมรัตน์. (2552). ระบาดวิทยาของปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชในประเทศไทย. สงขลา: ลิมบราเดอร์การพิมพ์.

มยุรี กลับวงษ์. (2552). การสร้างแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (บ.ก.). (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ระพีพร แก้วคอนไทย. (2551). การสอนทักษะการดูแลตนเองในผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2552). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลดา พลคะชา. (2554). ผลของการใช้กลุ่มจิตบำบัดตามแนวคิดของยาลอมต่อการเพิ่มคุณค่าในตนเองของวัยรุ่นชายที่เสี่ยงต่อการดื่มแอลกอฮอล์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วยุณี ช้างมิ่ง. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อาการนำ การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการกับอาการด้วยตนเองของผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรรษา จำปาศรี. (2554). ผลของกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองต่อการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร บัวผัน. (2559). ผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อภาระการดูแลและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2540). การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะแห่งการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.

สุนทรีย์ โบราณ. (2559). ผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อการรับรู้ความสามารถของตนและความตั้งใจในการเลิกเสพสารเสพติดในวัยรุ่นที่ติดสารแอมเฟตามีน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุรา ทิพย์ประจักษ์. (2547). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่จำหน่ายจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพห้วยดินดำ โรงพยาบาลสวนปรุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (4th ed.). Washington, DC: Author.

Orem, D. E. (2001). Nursing: Concept of practice (6th ed.). St. Louis: Mosby-Year Book.

Yalom, I. D. (1995). The theory and practice of group psychotherapy (4th ed.). New York: Basic Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29

How to Cite

สมปอง น., แนบเกษร ช., & วัฒนสินธุ์ ด. (2021). ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 32(1), 48–61. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/201666

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)