ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา บำรุงจิตร มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, ความผาสุกทางใจ, การรับรู้ภาระในการดูแล, ความหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความผาสุกทางใจ และปัจจัย ทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จำนวน 120 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบ ถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบสอบถามการรับรู้ภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท มีค่าความเชื่อมั่น .88 แบบสอบถามความ หวัง มีค่าความเชื่อมั่น .81 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าความเชื่อมั่น .89 และแบบสอบถามความผาสุกทางใจ มีค่าความเชื่อมั่น .86 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางใจโดยรวมในระดับปานกลาง (M = 71.74, SD = 9.27) การรับรู้ภาระในการดูแล และความหวัง สามารถร่วมกันทำนายความผาสุกทางใจได้ร้อยละ 27 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .270, p < .001) โดยการรับรู้ภาระในการดูแลสามารถทำนายความผาสุกทางใจได้มากที่สุด (Beta = -.334, p < .001) รองลงมา คือ ความหวัง (Beta = .266, p < .01)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดรูปแบบหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยเน้นการลดภาระในการดูแล และเสริมสร้างความหวังให้แก่ผู้ดูแล

References

กรมสุขภาพจิต. (2556). รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2556. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2559). สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

แก้วตา มีศรี, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 26(1), 35-49.

นพรัตน์ ไชยชำนิ. (2544). ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ดูแลแบบองค์รวม ต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพวรรณ เอกสุวีรพงษ์, และนารัต เกษตรทัต. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจิตเภท ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 52(4), 412-218.

นัทธมนต์ ฉิมสุข, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2557). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะความกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภาศรี ทุ่งมีผล. (2548). การสนับสนุนทางสังคม ความพร้อมในการดูแล และความเครียดของมารดาเด็กออทิสติก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัสตราภรณ์ พงษ์สิทธิศักดิ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาระเชิงปรนัยในการดูแล ความเข้มแข็งของครอบครัว ความหวัง กับความผาสุกทางใจของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศมัย สิโรตมรัตน์. (2553). ความว้าเหว่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ. (2556). การดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเวชที่บ้าน. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มยุรี กลับวงษ์, ผจงจิต อินทสุวรรณ, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี, และนันทิกา ทวิชาชาติ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 57-75.

มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (บ.ก.). (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

รักสุดา กิจอรุณชัย. (2555). ผลของสุขภาพจิตศึกษาต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3), 154-162.

เรณูการ์ ทองคำรอด. (2541). ความหวังของผู้ติดเชื้อเอชไอวี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์. (2559). รายงานประจำปี โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ ปีงบประมาณ 2558. สระแก้ว: ผู้แต่ง.

สมจิต หนุเจริญกุล, ประคอง อินทรสมบัติ, และพรรณวดี พุธวัฒนะ. (2532). สิ่งรบกวนในชีวิตประจำวัน ความเข้มแข็งในการมองโลก และการรับรู้ถึงความผาสุกในชีวิตของอาจารย์พยาบาลในมหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาล, 38(3), 169-190.

สายใจ พัวพันธ์. (2553). การรับรู้ถึงการเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 24(1), 156-158.

สุนันทา นวลเจริญ. (2553). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการดูแลบุคคลที่พึ่งพาของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรินทร์ จรูญสิทธิ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Adamec, C. (1996). How to live with mentally ill person. New York: John Wiley & Sons.

Bandura, A. (1997). Self efficacy: The exercise of control. New York: W. H. Freeman.

Brandt, P. A., & Weinert, C. (1985). PRQ: Psychometric update. School of Nursing, University of Washington.

Doornbos, M. M. (2002). Family caregivers and the mental health care system: Reality and dreams. Archives of Psychiatric Nursing, 16(1), 39-46.

Dupuy, H. J. (1977). The general well-being schedule. In F. McDowell & C. Newell (Eds.), A measuring health: A guide to rating scales and questionnaires (p. 125). New York: Oxford University Press.

Eakes, G. G. (1995). Chronic sorrow: The lived experience of parents of chronically mentally ill individuals. Archives of Psychiatric Nursing, 9(2), 77-84.

Ferriter, M., & Huband, N. (2003). Experiences of parents with a son or daughter suffering from schizophrenia. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing, 10(5), 552-560.

Gupta, A., Solanki, R. K., Koolwal, G. D., & Gehlot, S. (2015). Psychological well-being and burden in caregivers of patients with schizophrenia. International Journal of Medical Science and Public Health, 4(1), 70-76.

Herth, K. (1992). Abbreviated instrument to measure hope: Development and psychometric evaluation. Journal of Advanced Nursing, 17(10), 1251-1259.

Loukissa, D. A. (1995). Family burden in chronic mental illness: A review of research studies. Journal of Advanced Nursing, 21(2), 248-255.

Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics (5th ed.). Boston, MA: Pearson Education.

von Kardorff, E., Soltaninejad, A., Kamali, M., & Eslami Shahrbabaki, M. (2016). Family caregiver burden in mental illnesses: The case of affective disorders and schizophrenia - a qualitative exploratory study. Nordic Journal of Psychiatry, 70(4), 248-254.

World Health Organization. (2013). Schizophrenia. Retrieved from https://www.who.int/mental_health/management/schizophrenia/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)