ผลของโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ แซ่ตั๊ง มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณทนา ศุภสีมานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณี เดียวอิศเรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดิน ปัสสาวะซ้ำ แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น .80 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Fisher’s exact test, independent t-test, Mann-Whitney U test, paired t-test และ ANCOVA

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.520, p < .001) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 39.870, p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรนำโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ให้มีพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำ

References

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2559). การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

เฉลิมพร ถิตย์ผาด, และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารในสตรีตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลตติยภูมิ จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(4), 347-353.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

รัตนาภรณ์ ตามเที่ยงตรง, ศิริวรรณ แสงอินทร์, และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(1), 49-60.

สุจิตต์ แสนมงคล. (2559). การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30(2), 105-114.

สุภาวดี เงินยิ่ง. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ และการจัดการกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวรรณี โลนุช, มยุรี นิรัตธราดร, และศิริพร ขัมภลิขิต. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 79-93.

เสาวณีย์ ภูมิสวัสดิ์, เกษร สุวิทยะศิริ, และวันดี ไชยทรัพย์. (2556). การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 80-94.

Adam, I., & Saadia, Z. (2015). Urinary tract infections in pregnancy. Retrieved from http://www.smgebooks.com/urinary-tract-infections/chapters/UTI-15-01.pdf

Ahmed, M. H. (2015). Effect of intervention guidelines on self care practices of pregnant women with urinary tract infection. Life Science Journal, 12(1), 113-124.

Amiri, F. N., Rooshan, M. H., Ahmady, M. H., & Soliamani, M. J. (2009). Hygiene practices and sexual activity associated with urinary tract infection in pregnant women. Eastern Mediterranean Health Journal, 15(1), 104-110.

Badran, Y. A., El-Kashef, T. A., Abdelaziz, A. S., & Ali, M. M. (2015). Impact of genital hygiene and sexual activity on urinary tract infection during pregnancy. Urology Annals, 7(4), 478-481.

Easter, S. R., Cantonwine, D. E., Zera, C. A., Lim, K. H., Parry, S. I., & McElrath, T. F. (2016). Urinary tract infection during pregnancy, angiogenic factor profiles, and risk of preeclampsia. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 214(3), 387.

Jalali, M., Shamsi, M., Roozbehani, N., & Kabir, K. (2014a). Investigation of health education based on Theory of Planned Behavior on behavioral promotion of urinary infection prevention in pregnant women. World Journal of Medical Sciences, 11(4), 452-460.

Jalali, M., Shamsi, M., Roozbehani, N., & Kabir, K. (2014b). The effect of education based on the Theory of Planned Behavior in promoting preventive behaviors of urinary tract infections in pregnant women. Pars Journal of Medical Sciences, 12(3), 49-57.

Likis, F. (2017). Urinary tract infections. Journal of Midwifery & Women’s Health, 62(2), 241-242.

Mazor-Dray, E., Levy, A., Schlaeffer, F., & Sheiner, E. (2009). Maternal urinary tract infection: Is it independently associated with adverse pregnancy outcome?. Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine, 22(2), 124-128.

Moustafa, M. F., & Makhlouf, E. M. (2012). Association between the hygiene practices for genital organs and sexual activity on urinary tract infection in pregnant women at women’s health center, at Assiut University Hospital. Journal of American Science, 8(9), 515-522.

Nejadsadeghi, E., & Taghdisi, M. H. (2014). Evaluation of modification of behaviour of the pregnant women in the field of urinary infections based on the health belief mode. Hormozgan Medical Journal, 18(4), 317-327.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.). Boston, MA: Pearson.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Sadeghi, E. N., Taghdisi, M. H., & Solhi, M. (2012). Effect of education based on health belief model on prevention of urinary infection in pregnant. Health MED: Journal of Society for Development in New Net Environment in B & H, 6(12), 4211-4217.

Siakwa, M., Kpikpitse, D., Azanu, W., John, M. E., Doe, P. F., Ebu, N. I., & Hanson-Owoo, E. (2016). Maternal and perinatal outcomes among pregnant women with urinary tract infections. International Journal of Current Research, 8(6), 33366-33371.

Ullah, A., & Ahmed, I. (2010). Materno-fetal complications of asymptomatic bacteriuria in pregnancy: A longitudinal cohort study. International Medical Journal, 17(2), 141-146.

Vahlensieck, W., Perepanova, T., Johansen, T. E. B., Tenke, P., Naber, K. G., & Wagenlehner, F. M. E. (2016). Management of uncomplicated recurrent urinary tract infections. European Urology Supplements, 15(4), 95-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23

How to Cite

แซ่ตั๊ง ก., ศุภสีมานนท์ ว., & เดียวอิศเรศ ว. (2020). ผลของโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(1), 81–92. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/181862

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)