ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็วของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, การตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็วบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็วของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และการรับรู้ความรุนแรงจากการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่น .79 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน Chi-square test และ Fisher’s exact test
ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว คิดเป็นร้อยละ 62.70 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัญหาจากการใช้วิธีคุมกำเนิด (2 = 4.189, p < .05) สถานภาพสมรส (
2 = 3.828, p < .05) และความต้องการมีบุตร (
2 = 5.506, p < .05)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและครอบครัวเกี่ยวกับผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำอย่างรวดเร็ว การเว้นระยะห่างของการตั้งครรภ์ วิธีคุมกำเนิด และผลข้างเคียงของการใช้วิธีคุมกำเนิด
References
กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, และประกายดาว พรหมประพัฒน์. (2557). ผลกระทบของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. ใน กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, เอกชัย โควาวิสารัช, ประกายดาว พรหมประพัฒน์, และจันทกานต์ กาญจนเวทางค์ (บ.ก.), คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น (น. 10). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.
เกตย์สิรี ศรีวิไล. (2559). การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 142-152.
ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2553). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Teenage pregnancy). สืบค้นจาก http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/mch/teenagePregnancy.pdf
ปฏิญญา เอี่ยมสำอางค์. (2555). ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัญญา สนั่นพานิชกุล, และยศพล เหลืองโสมนภา. (2558). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(2), 156-174.
ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, และอารีรัตน์ จันทร์ลำภู. (บ.ก.). (2557). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่น ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
มนสิการ กาญจนะจิตรา. (2557). สถานการณ์ “แม่วัยใส” รอบโลก. สืบค้นจาก http://www2.ipsr.mahidol.ac.th
ฤดี ปุงบางกะดี่, และเอมพร รตินธร. (2557). ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. Journal of Nursing Science, 32(2), 23-31. สืบค้นจาก http://www.ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol32/issue2/rudee.pdf
แววดาว พิมลธเรศ. (2555). อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 29(4), 301-311.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวันรุ่นในประเทศไทย ปี 2556. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/article_attach/11829/16120.pdf
สํานักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). สถานการณ์การคลอดบุตรของวันรุ่นไทย ปี 2556. สืบค้นจาก http://dcy.go.th/webnew/uploadchild/cld/download/file_th_20152002002459_1.pdf
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น: นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล. สืบค้นจาก http://www.dmh.go.th
สุนารี เลิศทำนองธรรม. (2546). เหตุผลทางสังคม วัฒนธรรมในการตัดสินใจทำแท้งจากการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของหญิงวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนีย์ จุ่มกลาง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาฝังคุมกำเนิดโดยใช้แนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในมารดาวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
อังสนา วิศรุตเกษมพงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Baldwin, M. K., & Edelman, A. B. (2013). The effect of long-acting reversible contraception on rapid repeat pregnancy in adolescents: A review. Journal of Adolescent Health, 52(4 Suppl.), S47-S53.
Boardman, L. A., Allsworth, J., Phipps, M. G., & Lapane, K. L. (2006). Risk factors for unintended versus intended rapid repeat pregnancies among adolescents. Journal of Adolescent Health, 39(4), 597-600.
Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.
Crittenden, C. P., Boris, N. W., Rice, J. C., Taylor, C. A., & Olds, D. L. (2009). The role of mental health factors, behavioral factors, and past experiences in the prediction of rapid repeat pregnancy in adolescence. Journal of Adolescent Health, 44(1), 25-32.
El-Kamary, S. S., Higman, S. M., Fuddy, L., McFarlane, E., Sia, C., & Duggan, A. K. (2004). Hawaii’s healthy start home visiting program: Determinants and impact of rapid repeat birth. Pediatrics, 114(3), e317-e326.
Lewis, L. N., Doherty, D. A., Hickey, M., & Skinner, S. R. (2010). Predictors of sexual intercourse and rapid-repeat pregnancy among teenage mothers: An Australian prospective longitudinal study. The Medical Journal of Australia, 193(6), 338-342.
McLeroy, K. R., Bibeau, D., Steckler, A., & Glanz, K. (1988). An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly, 15(4), 351-377.
Omar, H. A., Fowler, A., & McClanahan, K. K. (2008). Significant reduction of repeat teen pregnancy in a comprehensive young parent program. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology, 21(5), 283-287.
Padin, M. D. F. R., Silva, R. D. S. E., Mitsuhiro, S. S., Chalem, E., Barros, M. M., Guinsburg, R., & Laranjeira, R. (2012). Repeat pregnancies among adolescents in a tertiary hospital in Brazil. Journal of Reproductive and Infant Psychology, 30(2), 193-200.
Rosengard, C. (2009). Confronting the intendedness of adolescent rapid repeat pregnancy. Journal of Adolescent Health, 44(1), 5-6.
Rowlands, S. (2010). Social predictors of repeat adolescent pregnancy and focussed strategies. Best Practice & Research. Clinical Obstetrics & Gynaecology, 24(5), 605-616.
Timur, H., Kokanalı, M. K., Topçu, H. O., Topçu, S., Erkılınç, S., Uygur, D., & Yakut, H. I. (2016). Factors that affect perinatal outcomes of the second pregnancy of adolescents. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology, 29(1), 18-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน