ผลของโปรแกรมบีบเตือนภัยห่างไกล Stroke ต่อความตระหนักรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
ความตระหนักรู้, ความรู้, การปฏิบัติตัว, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบีบเตือนภัยห่างไกล Stroke ต่อความตระหนักรู้ ความรู้ และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี จำนวน 26 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมบีบเตือนภัยห่างไกล Stroke แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .71 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยง อาการเตือน และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบประเมินการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความเชื่อมั่น .87 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือนมีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้โปรแกรมบีบเตือนภัยห่างไกล Stroke ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยง อาการเตือน และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 3.099, p < .01; Z = 4.346, p < .001 และ Z = 3.769, p < .001 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำโปรแกรมบีบเตือนภัยห่างไกล Stroke ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาว
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับ NCD Clinic Plus ปี 2561: อัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2561. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2018&source=pformated/format1.php&id=6d0c58de6b948dd0eac3c736c7584b59
กฤษณา พิรเวช. (2552). การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. ใน นิจศรี ชาญณรงค์ (สุวรรณเวลา). (บ.ก.), การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน (น. 205-225). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กษมา เชียงทอง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้อาการเตือน และพฤติกรรมการจัดการโรคหลอดเลือดสมอง ในกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คณะทำงานจัดทำรายงานประจำปี สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). รายงานประจำปี สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.
เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2558). รายงานการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2558. สืบค้นจาก https://dmht.thaimedresnet.org/files_2558/57DMHT_2014_ALL_Ontour.pdf
จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์. (2550). โรคความดันโลหิตสูง. ใน วิทยา ศรีดามา (บ.ก.), ตำราอายุรศาสตร์ 4 (น. 176-201). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทร์จิรา สีสว่าง, และนงณภัทร รุ่งเนย. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง: กลยุทธ์สู่การดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(3), 10-18.
ชลธิรา กาวไธสง. (2555). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ช่อผกา สุทธิพงศ์, และศิริอร สินธุ. (2555). ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุภายหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมองในเขตชุมชนเมือง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(1), 28-39.
นิตยา พันธุเวทย์, และลินดา จำปาแก้ว. (2558). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
นิ่มนวล ชูยิ่งสกุลทิพย์, อรุณี ชาญชัย, ปิ่นนเรศ กาศอุดม, และคณิสร แก้วแดง. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตันที่เข้ารับการรักษาในหน่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลระยอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(2), 54-64.
พรสวรรค์ คำทิพย์, และชนกพร จิตปัญญา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ และความตระหนักรู้ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอายุน้อยที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 44-55.
รายงานการตรวจราชการเขต 4. (2562). สืบค้นจาก https://rh4.moph.go.th
วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา. (2558). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(1), 145-153.
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุวรรณเวลา, และวราณี สัมฤทธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในเขต อ.เมือง จ.ตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 94-107.
วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย: นโยบาย สู่ การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วิยะการ แสงหัวช้าง. (2556ก). ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ตําบลต้นตาล อําเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี (รายงานผลการวิจัย). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.
วิยะการ แสงหัวช้าง. (2556ข). ผลของการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(4), 260-273.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2560). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถิติสาธารณสุข 2556. สืบค้นจาก https://planning.anamai.moph.go.th/download/D_DataMarts/Stat/health_statistics_2556.pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. สืบค้นจาก https://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_61.pdf
อุมาพร แซ่กอ, และชนกพร จิตปัญญา. (2557). การศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 13-23.
Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts (4th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Boer, H., & Seydel, E. R. (1998). Protection motivation theory. In M. Corner & P. Norman (Eds.), Predicting health behavior (pp. 95-120). Philadelphia: Open University Press.
Raju, R. S., Sarma, P. S., & Pandian, J. D. (2010). Psychosocial problems, quality of life, and functional independence among Indian stroke survivors. Stroke, 41(12), 2932-2937.
Rogers, R. W. (1983). Protection motivation theory. Health Education Research Theory and Practice, 7(1), 153-161.
Satink, T., Cup, E. H., Ilott, I., Prins, J., de Swart, B. J., & Nijhuis-van der Sanden, M. W. (2013). Patients’ views on the impact of stroke on their roles and self: A thematic synthesis of qualitative studies. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 94(6), 1171-1183.
World Health Organization. (2013). A global brief on hypertension: Silent killer, global public health crisis. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/79059/WHO_DCO_WHD_2013.2_eng.pdf;jsessionid=D8A5665CBA1225231798D8D48D7B0417?sequence=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน