การเสริมสร้างการจัดการภาระครอบครัวและความสุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลระยอง
คำสำคัญ:
การจัดการภาระครอบครัว, ความสุขในครอบครัว, โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาการเสริมสร้างการจัดการภาระครอบครัวและความ สุขในครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลระยอง และครอบครัวของผู้ป่วย จำนวน 20 คู่ แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คู่ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการ แบบรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน แบบวัดการจัดการภาระครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่น .95 และแบบวัดความสุขในครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่น .94 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน two-way repeated measures MANOVA และ three-way repeated measures MANOVA โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการภาระครอบครัว และคะแนนเฉลี่ยความสุขในครอบครัว ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 และ p < .001 ตามลำดับ) และ 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการจัดการภาระครอบครัว และคะแนนเฉลี่ยความสุขในครอบครัว ระยะติดตามผลสูงกว่าระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรนำโปรแกรมการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการไปประยุกต์ใช้ในการให้การปรึกษาครอบครัวลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อช่วยเสริมสร้างการจัดการภาระครอบครัว และเพิ่มความสุขในครอบครัว
References
กรมสุขภาพจิต. (2559). แบบทดสอบดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้น The Happiness Indicator (TMHI-15). นนทบุรี: ผู้แต่ง.
ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์. (2549). การให้คำปรึกษาครอบครัวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสทหารเรือ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2555). การปรึกษาครอบครัวตามแนวทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างรุ่น: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารศึกษาศาสตร์, 23(3), 57-66.
เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การปรึกษาครอบครัว Family counseling. ชลบุรี: เนติกุลการพิมพ์.
ยุพดี ทรัพย์เจริญ, และเพ็ญนภา กุลนภาดล. (2557). ผลการปรึกษาทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างรุ่นต่อความสามารถในการแยกตนเองของนิสิตปริญญาตรี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(1), 12-29.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุข ปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Glade, A. C. (2005). Differentiation, marital satisfaction and depressive symptoms: An application of Bowen Theory (Doctoral dissertation). Columbus, OH: The Ohio State University.
Knerr, M. R. (2008). Differentiation and power in couple therapy (Doctoral dissertation). Columbus, OH: The Ohio State University.
World Stroke Organization. (2017). World Stroke Day 2017 What’s your reason for preventing stroke?. Retrieved from https://www.worldstrokecampaign.org/media/attachments/2017/07/20/english---world-stroke-day-2017-brochure-20170720.pdf
Zarit, S. H., & Zarit, J. M. (1990). The memory and behavior problems checklist and the burden interview. University Park, PA: Pennsylvania State University, Gerontology Center.
Zarit, S. H., Reever, K. E., & Bach-Peterson, J. (1980). Relatives of the impaired elderly: Correlates of feeling of burden. The Gerontologist, 20(6), 649-655.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน