ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์ มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดวงใจ วัฒนสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนัดดา แนบเกษร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, ภาวะสุขภาพจิต, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 52 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะสุขภาพจิต มีค่าความเชื่อมั่น .80 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงวันที่ 22 มกราคม ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test และ two-way repeated measures ANOVA โดยทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมี คะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และ 2) ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะสุขภาพจิตต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารสถาบันการศึกษาควรนำโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ไปประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา

References

กชกร แก้วพรหม, และชนกฤทัย ชื่นอารมณ์. (2556). การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 128-135.

กนกพร หมู่พยัคฆ์, จรินทิพย์ อุดมพันธุรัก, ชลียา กัญพัฒนพร, ชัญญา แสงจันทร์, และพวงเพชร เกษรสมุทร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(Suppl. 1), 55-65.

กรมสุขภาพจิต. (2550). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงไกร ยาม่วง. (2554). ผลของโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครทรวิโรฒ.

จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, สายใจ พัวพันธ์, และดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(3), 1-13.

จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ, และสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียด และความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50.

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, และนฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 357-369.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้ และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 2-17.

นุชนาถ แก้วมาตร, จันทนา เกิดบางเขน, และชนัดดา แนบเกษร. (2556). นักศึกษาพยาบาลกับภาวะซึมเศร้า. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(3), 14-23.

บุรียา แตงพันธ์, และคณิต เขียววิชัย. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 27-38.

ปวิดา โพธิ์ทอง, สุพัตรา พุ่มพวง, และสุนทรี ขะชาตย์. (2554). ความเครียด การปรับตัว และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 22(2), 1-14.

ปัณณทัต บนขุนทด. (2556). การศึกษาปัญหาการปรับตัวของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น บุรีรัมย์.

ผุสนีย์ แก้วมณีย์, และเรวัตร คงผาสุข. (2557). ความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ, 4(8), 51-61.

ภัทรียา พันธุ์ทอง, ทวีศักดิ์ กสิผล, ศิริยุพา นันสุนานนท์, ชนิกา เจริญจิตต์กุล, และพิจิตรา ชุณหฐิติธรรม. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (รายงานผลการวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

มณี อาภานันทิกุล, พรรณวดี พุธวัฒนะ, และจริยา วิทยะศุภร. (2554). ภาวะสุขภาพ และการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 123-136.

วารีรัตน์ ถาน้อย, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, และภาศิษฏา อ่อนดี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสภาการพยาบาล, 27(พิเศษ), 60-76.

วิลัยพร นุชสุธรรม, พัชราวรรณ แก้วกันทะ, ลาวัลย์ สมบูรณ์, ชมภู่ บุญไทย, และสุกัญญา เมืองมาคำ. (2561). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 45(1), 110-121.

วิไล เกิดผล, และพิเชษฐ เรืองสุขสุด. (2553). ผลของการพัฒนาทักษะชีวิตต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 33(1), 10-21.

ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2548). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 47-57.

สำนักทะเบียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. (2560). ระเบียนประวัตินักศึกษา. สุพรรณบุรี: ผู้แต่ง.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัฐนรี น้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, … ธัญญาเรศ พ่อยันต์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 93-106.

สุจิตรา กฤติยาวรรณ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

อนัญญา คูอาริยะกุล, วราภรณ์ ยศทวี, นัยนา อินธิโชติ, วิภาวรรณ นวลทอง, และวีระยุทธ อินพะเนา. (2555). เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(1), 18-26.

Barkhordari, M., & Rostambeygi, P. (2013). Emotional intelligence in nursing students. Journal of Advances in Medical Education and Professionalism, 1(2), 46-50.

Beauvais, A. M., Brady, N., O’Shea, E. R., & Quinn Griffin, M. T. (2011). Emotional intelligence and nursing performance among nursing students. Nurse Education Today, 31(4), 396-401.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Goldberg, D. P. (1972). The detection of psychiatric illness by questionnaire. London: Oxford University Press.

Martins, A., Ramalho, N., & Morin, E. (2010). A comprehensive meta-analysis of the relationship between emotional intelligence and health. Personality and Individual Differences, 49(6), 554-564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29

How to Cite

ศรีโพธิ์ เ., วัฒนสินธุ์ ด., & แนบเกษร ช. (2019). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 76–87. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/166244

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)