ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การรับรู้, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรคบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2560 ที่ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 240 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีค่าความเชื่อมั่น .80 และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีค่าความเชื่อมั่น .80 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยรวม คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ผลที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยรวม และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สิ่งสนับสนุน ทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาพ ในระดับสูง (M = 3.92, SD = 1.27; M = 4.06, SD = 1.30 และ M = 4.32, SD = 1.03 ตามลำดับ) 2) ประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในระดับปานกลาง (M = 3.57, SD = 1.30) และ 3) การรับรู้สาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้ผล ที่เกิดจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการรับรู้สิ่งสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .243, p < .001, r = .265, p < .001 และ r = .301, p < .001 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางสาธารณสุขควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในรูปแบบที่หลากหลายและเหมาะสมกับบริบทของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นสาเหตุของโรค การตรวจสุขภาพ การออกกำลังกาย และการหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เพื่อให้ประชาชนมีการรับรู้และมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น
References
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf
ทรรศนีย์ โกศัยทิพย์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุบผาชาติ ทีงาม, เยาวภา ติอัชสุวรรณ, และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านโพนม่วง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 5(3), 127-134.
ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
ปรารถนา วัชรานุรักษ์, และอัจฉรา กลับกลาย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 217-233.
ศิริรัตน์ โกศัลวัฒน์. (2548). มโนทัศน์พื้นฐานทางการพยาบาล. สงขลา: กอปปี้คอร์เนอร์ดิจิตอลปริ้นเซนเตอร์.
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพที่ 6 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี. (2559). รายงานโรคไม่ติดต่อ จังหวัดจันทบุรี ประจำปี 2559. สืบค้นจาก http://www.chpho.go.th/web2014/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html
สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สธ. เผยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากร เร่งพัฒนาสมรรถนะแก่บุคลากรเพื่อลดผู้ป่วยรายใหม่. สืบค้นจาก http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=89828
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2559). สถิติข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นจาก www.thaincd.com
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/document/file/download/paper-manual/NCDReport60.pdf
สุพัชยา วิลวัฒน์. (2551). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในญาติสายตรงของผู้ที่เป็นเบาหวานประเภท 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
โสภณ เมฆธน. (2559). ข่าวเพื่อสื่อมวลชน สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://pr.moph.go.th/iprg/module.php?mod=news_print&idHot_new=89828
อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์, นพวรรณ เปียซื่อ, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(1), 58-68.
อาภรณ์ ดีนาน. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่. ใน ศิริพร ขัมภลิขิต และจุฬาลักษณ์ บารมี (บ.ก.), คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (น. 377-425). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
อุทัย สุดสุข, พิทยา จารุพูนผล, ประยูร ฟองสถิตย์กุล, จรัล เกวลินสฤษดิ์, สัมฤทธิ์ จันทราช, และจรรยา เสียงเสนาะ. (2552). โครงการศึกษาสถานการณ์ความสมารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความต้องการ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Becker, M. H., Haefner, D. P., Kasl, S. V., Kirscht, J. P., Maiman, L. A., & Rosenstock, I. M. (1977). Selected psychosocial models and correlates of individual health-related behaviors. Medical Care, 15(5 Suppl.), 27-46.
Cummings, K. M., Jette, A. M., Brock, B. M., & Haefner, D. P. (1979). Psychosocial determinants of immunization behavior in a swine influenza campaign. Medical Care, 17(6), 639-649.
Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The health beliefs model: Original and correlates in psychological theory. In M. H. Becker (Ed.), The health beliefs model and personal health behavior (pp. 9-26). Thorofare, NJ: Slack.
Paige, S. R., Bonnar, K. K., Black, D. R., & Coster, D. C. (2018). Risk factor knowledge, perceived threat, and protective health behaviors: Implications for type 2 diabetes control in rural communities. The Diabetes Educator, 44(1), 63-71.
Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Connecticut: Appleton & Lange.
Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.
Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-386.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน