การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • คัทลิยา วสุธาดา วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

คำสำคัญ:

ระยะเวลารอคอยการรับบริการ, ความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ศูนย์สุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ต่อระยะเวลารอคอยการรับบริการ และความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการในศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 210 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกระยะเวลารอคอยการรับบริการ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับ มีค่าความเชื่อมั่น .94 และนาฬิกา เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่าหลังการพัฒนาฯ 1) กลุ่มตัวอย่างใช้ระยะเวลารอคอยการรับบริการเฉลี่ยน้อยกว่าก่อนการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 12.120, p < .001) และ 2) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับมากกว่าก่อนการพัฒนาฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 21.180, p < .001)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการทางสุขภาพควรนำรูปแบบที่ได้จากการพัฒนาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพบริการ เพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการและเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ

References

กมลวรรณ โป้สมบูรณ์, และปราณี อ่อนศร. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของหน่วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 30-32.

นิสา ภู่อาภรณ์. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อโรงพยาบาลอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประวร ไชยอ้าย. (2556). คุณภาพการให้บริการของฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี (ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์ขวัญ บุญกล่อม. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ลัคนา ฤกษ์ศุภผล. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 145-159.

วิไลลักษณ์ วงศ์เจริญ, และคณะ. (2557). ผลการพัฒนาระบบการนัดผู้ป่วยเป็นช่วงเวลา ห้องตรวจ OPD ห้องตรวจเบอร์ 10 ด้วยระบบบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง สมรรถนะของพยาบาล: พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ. หน้า 439-451. วันที่ 16-17 ตุลาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สรานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 160-161.

Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). Access to medical care. Ann Arbor: Health Administration Press.

Bielen, F., & Demoulin, N. (2007). Waiting time influence on the satisfaction–loyalty relationship in services. Managing Service Quality, 17(2), 174-193.

Dansky, K. H., & Miles, J. (1997). Patient satisfaction with ambulatory healthcare services: Waiting time and filling time. Hospital & Health Services Administration, 42(2), 165-177.

Hart, M. (1995). Improving out-patient clinic waiting times: Methodological and substantive issues. International Journal of Health Care Quality Assurance, 8(6), 14-22.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-04

How to Cite

วสุธาดา ค. (2018). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 80–89. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/117872

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)