การพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง ภูมิปัญญาล้านนาด้านอาหารพื้นบ้านกับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น, ภูมิปัญญาล้านนา, อาหารพื้นบ้าน, การเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้าน สร้างและทดสอบบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 297 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .84 แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบวัด และแบบทดสอบ ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test การหาอัตราส่วนประสิทธิภาพ (E1 / E2) และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้านโดยรวมในระดับปานกลาง (X = 2.10, SD = .25) 2) บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นสร้างโดยการนำผลการจำแนกตำรับอาหารพื้นบ้าน ส่วนประกอบ และวิธีการปรุง รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้าน ร่วมกับองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาล้านนาด้านอาหารพื้นบ้าน และ 3) ประสิทธิภาพของบทเรียน พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุมีค่าคะแนนในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน (E1) และผลของการใช้บทเรียน (E2) เท่ากับ 84.35 / 86.24 ส่วนกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุมีค่าคะแนนเท่ากับ 83.87 / 85.39 ซึ่งสูงกว่าประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าหลังการใช้บทเรียน ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.644, p < .01 และ t = 3.081, p < .05 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการประยุกต์ใช้เนื้อหาและกิจกรรมในบทเรียน ควรก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ผสมผสานกับวิถีชีวิตประจำวัน ปรับเนื้อหาให้ลดลง เพิ่มระยะเวลาและกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารและองค์ความรู้ด้านอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุ
References
คำปุน วรรณวงษ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จินตนา สุวิทวัส. (2554). ภาวะโภชนาการและบริโภคนิสัยของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(3), 22-30.
ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง, และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2557). เส้นทางการสืบสานภูมิปัญญาอาหารล้านนาสู่ความยั่งยืน. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 35(2), 189-205.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
ฝ่ายบริการข้อมูล เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (2552). ข้อมูลภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ เขตเทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ผู้แต่ง.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2557). อาหารพื้นบ้านไทย. สืบค้น วันที่ 23 มีนาคม 2557, จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2258/
ไมตรี สุทธจิตต์. (2546). สรุปการจัดสัมมนาวิชาการศาสตร์การแพทย์ทางเลือกสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์: 2004. วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2546 ณ โรงแรมโรสการ์เด้น จังหวัดนครปฐม.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2546). วิถีการดูแลสุขภาพในระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา. เชียงราย: สถาบันราชภัฏเชียงราย.
โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน. (2557). อาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. สืบค้น วันที่ 18 สิงหาคม 2558, จาก http://www.msdbangkok.go.th/BKT/b3.html
สามารถ ใจเตี้ย, และดารารัตน์ จำเกิด. (2557). การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(2), 37-45.
Anderson, L. W. (1988). Likert scales. In Keeves, J. P. (Ed.). Educational research, methodology, and measurement: An international handbook. pp. 427-428. Victoria: Pergamon.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Kathy, D. (2006). Elder abuse in context of poverty and deprivation and emergency department care. Australasian Emergency Nursing Journal, 10(4), 169-177.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน