คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรโรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลบางคล้า จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรที่มีค่าความเชื่อมั่น .96 เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนเดือนสิงหาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมในระดับปานกลาง และ 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 6.090, p < .05) สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 8.900, p < .05) ด้านการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 6.210, p < .05) และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 7.740, p < .05) การศึกษามีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 9.880, p < .01) อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านประชาธิปไตยในองค์กรหรือกระบวนการยุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.220, p < .05) รายได้มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านประชาธิปไตยในองค์กรหรือกระบวนการยุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.242, p < .05) และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและพอเพียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .305, p < .01)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าทีมที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลควรมีการค้นหาความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นและเหมาะสม
References
คณิสร พรไกรเนตร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1(2), 42-55.
นพวรรณ ใจคง. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา จังหวัดชลบุรี (ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญโชติ เกตุแก้ว. (2556). คุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(2), 93-105.
บุรัสกร เตจ๊ะมา, สุคนธา คงศีล, สมชาติ โตรักษา, และกิติพงษ์ หาญเจริญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 42(2), 82-91.
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2556). ผลการดำเนินการขององค์กร โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: ผู้แต่ง.
สิริลักษณ์ ชูทวด, และสิทธิชัย เอกอรมัยผล. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาล. วารสารสุขศึกษา, 32(112), 19-32.
สุเทพ ปัญญา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เอื้ออารี เพ็ชรสุวรรณ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, นพพร โหวธีระกุล, และฉวีวรรณ บุญสุยา. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารเกื้อการุณย์, 19(2), 103-117.
Davis, L. E. (1977). Enhancing the quality of working life: Developments in the United States. International Labour Review, 116(1), 53-65.
Hackman, J. R., & Suttle, J. L. (1977). Improving life at work: Behavioral science approaches to organizational change. Santa Monica, CA: Goodyear.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน