ผลของโปรแกรมการดูแลแผลผ่าตัดและป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยก่อนจำหน่าย ในหอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการดูแลแผล, แผลผ่าตัด, การติดเชื้อที่แผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลแผลผ่าตัดและป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยก่อนจำหน่ายในหอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ตึกพิเศษศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแผลผ่าตัดที่ต้องดูแลต่อที่บ้าน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการดูแลแผลผ่าตัดและป้องกันการติดเชื้อ วีดิทัศน์ แบบทดสอบความรู้ในการดูแลแผลผ่าตัดที่มีค่าความเชื่อมั่น .57 แบบวัดทัศนคติในการดูแลแผลผ่าตัดที่มีค่าความเชื่อมั่น .70 และแบบประเมินการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2557 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ repeated one-way ANOVA โดยทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลแผลผ่าตัดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 2.50, p < .001) และระยะติดตามผล มีค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลแผลผ่าตัดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 2.87, p < .001) แต่ไม่แตกต่างจากหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยทัศนคติในการดูแลแผลผ่าตัดไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระยะติดตามผล มีค่าเฉลี่ยทัศนคติในการดูแลแผลผ่าตัดดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 3.16, p < .001) และดีกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 2.23, p < .05)
3. หลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างทุกคนไม่มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมการดูแลแผลผ่าตัดและป้องกันการติดเชื้อไปใช้ เพื่อส่งเสริมผู้ป่วยในการดูแลแผลผ่าตัดอย่างต่อเนื่อง และลดโอกาสการติดเชื้อที่แผล
References
จิณพิชญ์ชา มะมม, พิชัย จันทร์สวัสดิ์, ศรพร เนียมฤทธิ์, และไพรัช ใบครุธ. (2556). ผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการดูแลต่อการหายของแผลในผู้ป่วยแผลกดทับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(7 ฉบับพิเศษ), 609-619.
ณัฐชยา พลาชีวะ. (2542). ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านต่อความรู้และการปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตนเองของผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกระยะพักฟื้น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นภารัตน์ บัวศรีใส. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลบาดแผลชนิดเปิดของพยาบาลวิชาชีพแผนกศัลยกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์. (2549). สรีรวิทยาการหายของบาดแผลเฉียบพลันและเรื้อรัง. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยที่มีทวารเทียมที่มีรูเปิดที่ผิดปกติระหว่างช่องอวัยวะภายในร่างกายและผิวหนัง และที่มีแผลเรื้อรัง. หน้า 7-11. มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ.
ปนัดดา ตะปานนท์. (2552). ผลของการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง. สืบค้น วันที่ 15 กันยายน 2557, จาก http://www.intranet.rajburi.org/dept/medillus/km/poster%20pdf2552/030.pdf
มณกร ศรีแป๊ะบัว. (2554). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลเท้า และพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
โยธิน พลประถม. (2551). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในโครงการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรของพนักงานสายปฏิบัติการร้านสาขา บริษัท ซี.พี. เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา: เขตปฏิบัติการภาคเหนือของกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศูนย์อนามัยที่ 11. (2556). บาดแผลให้หายเร็ว. สืบค้น วันที่ 10 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.hpc11.go.th/intranet/index.php?topic=849.msg3946#msg3946.
สังคม นนท์พิพัฒน์, วัชรพงษ์ เรือนคำ, และพัชรา ก้อยชูสกุล. (2557). ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม และการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 10(1), 53-71.
สุนทร บุญบำเรอ. (2557). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(2), 82-92.
อัสญาณ์ มงคล, และกนกอร พูนเปี่ยม. (2554). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมสอนสุขศึกษาในการดูแลตนเองของผู้ป่วยแผลติดเชื้อที่กระจกตา (corneal ulcer). สืบค้น วันที่ 1 ธันวาคม 2557, จาก www.metta.go.th/nursemain/files/r to r รุ่น 3/ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมสอนสุขศึกษาผู้ป่วยแผลติดเชื้อที่กระจกตา.pdf
อนุกูล พลศิริ. (2551). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วารสารวิจัยรามคําแหง, 11(ฉบับพิเศษ 1), 49-60.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. New Jersey: Prentice Hall.
Chen, Y. C., Wang, Y. C., Chen, W. K., Smith, M., Huang, H. M., & Huang, L. C. (2013). The effectiveness of a health education intervention on self-care of traumatic wounds. Journal of Clinical Nursing, 22(17-18), 2499-2508.
Cherry, K. (2015). Attitudes. สืบค้น วันที่ 1 ธันวาคม 2557, จาก http://psychology.about.com/od/socialpsychology/a/attitudes.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2015 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน