ผลของการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัดแบบบูรณาการการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อรัญญา บุญธรรม วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • ธันยาพร บัวเหลือง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • เชษฐา แก้วพรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การสะท้อนคิด, รายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัด, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัดแบบบูรณาการการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีการศึกษา 2556 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฟอร์มการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัด 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบฟอร์มเดิม แบบฟอร์มสะท้อนคิด และแบบฟอร์มบูรณาการการสะท้อนคิดกับแบบฟอร์มเดิม และ 2) แบบวัดพฤติกรรมสะท้อนคิดที่มีค่าความเชื่อมั่น .92 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test และ one-way ANOVA โดยทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่าหลังการเขียนรายงานฯ ตามแบบฟอร์มเดิม แบบฟอร์มสะท้อนคิด และแบบฟอร์มบูรณาการการสะท้อนคิดกับแบบฟอร์มเดิม นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนการเขียนรายงานฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.381, p < .001; t = 11.184, p < .001 และ t = 12.363, p < .001 ตามลำดับ) และพบว่ากลุ่มที่เขียนรายงานฯ ตามแบบฟอร์มบูรณาการการสะท้อนคิดกับแบบฟอร์มเดิม มีพฤติกรรมสะท้อนคิดสูงกว่ากลุ่มที่เขียนรายงานฯ ตามแบบฟอร์มเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = .38, p < .05)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าอาจารย์พยาบาลควรนำรูปแบบการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัดตามแบบฟอร์มบูรณาการการสะท้อนคิดกับแบบฟอร์มเดิมไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล เพื่อพัฒนาทักษะการสะท้อนคิดของนักศึกษา

References

กนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2544). การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด: การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 35-48.

เชษฐา แก้วพรม. (2556). การพัฒนาทักษะสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาลด้วยการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 24(2), 12-20.

เชษฐา แก้วพรม, อรัญญา บุญธรรม, ลลนา ประทุม, และโศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ. (2557). ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการเขียนบันทึกสะท้อนคิด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(3), 101-112.

ทัศนา บุญทอง. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชา การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 64-70.

มนัสวี จำปาเทศ. (2556). การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการสะท้อนคิด. สืบค้น วันที่ 12 มีนาคม 2556, จาก http://www.bnc.ac.th/kmassetblog/index.php?topic=64.0

Beam, R. J., O’Brien, R. A., & Neal, M. (2010). Reflective practice enhance public health nurse implementation of nurse-family partnership. Public Health Nursing, 27(2), 131-139.

Chong, M. C. (2009). Is reflective practice a useful task for student nurses?. Asian Nursing Research, 3(3), 111-120.

Enuku, C. A., & Evawoma-Enuku, U. (2013). The need to incorporate reflective practice into nursing education curriculum in Nigeria. IOSR Journal of Nursing and Health Science, 1(2), 57-62.

Eyler, J. (2002). Reflecting on service: Helping nursing students get the most from service-learning. Journal of Nursing Education, 41(10), 453-456.

Horton-Deutsch, S., & Sherwood, G. (2008). Reflection: An educational strategy to develop emotionally-competent nurse leaders. Journal of Nursing Management, 16(8), 946-954.

Koole, S., et al. (2011). Factors confounding the assessment of reflection: A critical review. BMC Medical Education, 11, 104.

Lauterbach, S. S., & Becker, P. H. (1996). Caring for self: Becoming a self-reflective nurse. Holistic Nursing Practice, 10(2), 57-68.

Towndrow, P. A., & Ling, T. A. (2008). Promoting inquiry through science reflective journal writing. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 4(3), 279-283.

Usher, K., Tollefson, J., & Francis, D. (2001). Moving from technical to critical reflection in journalling: An investigation of students’ ability to incorperate three levels of reflective writing. The Australian Journal of Advanced Nursing, 19(1), 15-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-27

How to Cite

บุญธรรม อ., ยุทธวิสุทธิ โ., บัวเหลือง ธ., แก้วพรม เ., & รุ่งเรือง ค. (2018). ผลของการเขียนรายงานการสื่อสารเพื่อการบำบัดแบบบูรณาการการสะท้อนคิด ต่อการพัฒนาพฤติกรรมสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 26(Suppl. 1), 24–34. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/116938

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)