การพัฒนาโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชนในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด, เยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม ดำเนินการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาการใช้สารเสพติด และสาเหตุการใช้สารเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของโปรแกรม และศึกษาความเป็นไปได้ของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 15 คน และระยะที่ 3 ปรับปรุงโปรแกรมให้เหมาะสม และนำโปรแกรมไปใช้จริง กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยง แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรม มีค่าความเชื่อมั่น .90 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่น .80 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .88 และแบบสอบถามพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่น .93 ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 54.50 และมีการดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 64.50 2) เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้โปรแกรมในระดับมาก (M = 40.51, SD = 11.42) 3) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.730, p < .05) และ 4) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.020, p < .05 และ t = 5.740, p < .05 ตามลำดับ)
จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพที่ดูแลงานด้านยาเสพติดควรนำโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดในเยาวชน ไปใช้ในการดูแลเยาวชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น
References
กลุ่มนโยบายและแผน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. (2559). การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองและการควบคุมตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชนในจังหวัดนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์, อารยา ทิพย์วงศ์, ลักขณา ยอดกลกิจ, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2562). ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดของเยาวชน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(1), 33–40.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลลักษณ์ ลังกา, อรอุมา เจริญสุข, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, และกัมปนาท บริบูรณ์. (2560). โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยภูมิคุ้มกันที่มีต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อปพ.). วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 30(1), 101–118.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์. (2562). รายงานประจำปี 2562. ปทุมธานี: ผู้แต่ง.
สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา. (2562). สถิติด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2560–2562 สถาบันธัญญารักษ์. สืบค้นจาก http://www.thanyarak.go.th/thai/index.phpoption=com_content&task=view&id=1397&Itemid=53
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). รายงานผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ. สืบค้นจาก https://www.oncb.go.th/Home/Pages/services.aspx
อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, จิรัชยา เจียวก๊ก, และฐานิดาภัทฐ์ แสงทอง. (2564). บทความวิจัยเรื่อง รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี กรณีศึกษา ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัดบ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน. สืบค้นจาก https://cads.in.th/cads/media/upload/1621264145-Infographic.pdf
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.
Majer, J. M., Jason, L. A., & Olson, B. D. (2004). Optimism, abstinence self-efficacy, and self-mastery: A comparative analysis of cognitive resources. Assessment, 11(1), 57–63. doi:10.1177/1073191103257139
Razali, M. M., & Kliewer, W. (2015). Risk and protective factors for recreational and hard drug use among Malaysian adolescents and young adults. Addictive Behaviors, 50, 149–156. doi:10.1016/j.addbeh.2015.06.022
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อความ ข้อมูล และรายการอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ในการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยหรือร่วมรับผิดชอบ
บทความที่ได้รับการลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี หากหน่วยงานหรือบุคคลใดต้องการนำส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อน