ผลของการนวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับการใช้ยา ต่อความปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด

ผู้แต่ง

  • ศรีวรรณ สวยงาม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณี อาภานันทิกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การนวดคอ บ่า ไหล่, ความปวด, ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ, กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด, การบำบัดแบบผสมผสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการนวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับการใช้ยา ต่อความปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด ที่มารับบริการที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำนวน 75 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานยาอย่างเดียว กลุ่มที่รับประทานยาร่วมกับการนวด และกลุ่มที่ได้รับการนวดอย่างเดียว จำนวนกลุ่มละ 25 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยคู่มือการนวดแผนไทยแบบราชสำนัก แบบบันทึกการรับประทานยา แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความปวด และเครื่องวัดปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon signed ranks test, paired t-test และ one-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่าหลังการรับประทานยาอย่างเดียว การรับประทานยาร่วมกับการนวด และการนวดอย่างเดียว ค่าเฉลี่ยอันดับของความปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = 4.401, p < .001; z = 4.402, p < .001 และ z = 4.408, p < .001 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยคะแนนความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 8.655, p < .001; t = 5.662, p < .001 และ t = 6.265, p < .001 ตามลำดับ) และพบว่ากลุ่มที่รับประทานยาอย่างเดียว กลุ่มที่รับประทานยาร่วมกับการนวด และกลุ่มที่ได้รับการนวดอย่างเดียว มีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดและค่าเฉลี่ยคะแนนความตึงตัวของกล้ามเนื้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพควรแนะนำผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดให้เข้ารับการรักษาโดยใช้การนวดไทยแทนการรับประทานยาได้ และผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคลินิกแพทย์แผนไทยในหน่วยงาน รวมทั้งควรพิจารณาเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลให้เอื้อต่อการเข้าถึงบริการ

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2552). องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมถ์.

กิติยา โกวิทยานนท์, และปนดา เตชทรัพย์อมร. (2553). เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก myofascial pain syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้าซาวด์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 8(2-3), 179-190.

ไกรวัชร ธีรเนตร. (2552). Concept in pain management. ใน ภัทราวุธ อินทรกำแหง. (บ.ก.). ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.

จุไรรัฐ วงษา, และชื่นฤทัย ยี่เขียน. (2553). ผลของการรักษาผู้ป่วย trapezius myofascial pain ด้วยการนวดแบบสวีดิช ร่วมกับการประคบแผ่นร้อน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 35(2), 95-102.

ธวัชชัย สุวรรณโท. (2553). เปรียบเทียบผลทันทีระหว่างการทำดัดดึง (Single manipulation) กับการเคลื่อนไหวข้อต่อ (Single mobilization) ที่บริเวณกระดูกสันหลังระดับอกในผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอเรื้อรัง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา พุทธธรรมรักษา. (2548). ประสิทธิผลของการนวดแผนไทยประยุกต์ (อายุรเวท) ต่ออาการปวดต้นคอ ของผู้มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. (2551). Traditional massage difficult style in difficult situation. ใน จุฑามณี สุทธิสีสังข์. (บ.ก.). The essence of pain management. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (บ.ก.). (2550). คู่มือการนวดรักษาโรคแบบราชสำนัก. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.

ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์. (2555). Complementary nursing and symptom management in chronic care: Thailand perspective. ใน เอกสารการประชุมวิชาการ หัวข้อ The 5th Asian-Pacific International Conference on Complementary Nursing. หน้า 37-42. ณ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ.

วิมลรัตน์ จงเจริญ. (2552). การนวด. ใน ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐเชียร, และชัชชัย ปรีชาไว. (บ.ก.). ความปวดและการระงับปวด Pain & Pain Management 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

วิศรุต บุตรากาศ. (2551). ผลแบบเฉียบพลันของการนวดไทยต่อความผันแปรของอัตราการเต้นของหัวใจและตัวแปรที่สัมพันธ์กับความเครียด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิษณุ กัมทรทิพย์. (2550). ปวดคอ. ใน กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (บ.ก.). เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: เอ็น พี เพรส.

ศุภกิจ สุวรรณไตรย์. (2548). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถของตนเองร่วมกับการนวดแบบราชสำนักต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยปวดบ่า ต้นคอ และศีรษะ คลินิกอายุรเวทแพทย์แผนไทยประยุกต์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข. (2551). หลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ผู้แต่ง.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552 ก). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน (Clinical guidance for acute pain management). ม.ป.ท.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552 ข). แนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ Myofascial pain syndrome fibromyalgia. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

สรายุธ มงคล, กนกทิพย์ สว่างใจธรรม, และวาสนา เนตรวีระ. (2555). ผลของการนวดไทยแบบราชสำนักในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ upper trapezius: การศึกษานำร่อง. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 25(1), 87-95.

สายชล ศรีแพ่ง. (2555). ผลการนวดประคบสมุนไพรต่ออาการปวดข้อเข่า อาการข้อเข่าฝืด ปฏิกิริยาสะท้อนความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และความยากลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. (2555). รายงานการศึกษาทบทวนประสิทธิภาพและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการรักษาอาการปวดและอาการอักเสบของยากลุ่ม Selective cyclooxygenase inhibitors (COX II-inhibitors). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิค แอนด์ ดีไซน์.

สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2554). สถิติผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุข ทั้งประเทศ. สืบค้น วันที่ 28 เมษายน 2556, จาก http://bps.ops.moph.go.th

สิริรัตน์ มิตรเจริญถาวร. (2548). ผลของการนวดโดยการกดและคลึงกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อหัวไหล่ในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหัวไหล่ส่วนบน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุบลกาญจน์ ยอดต่อ. (2555). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับ Myofascial pain syndrome ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไรวรรณ ชัชวาลย์. (2548). ผลของการนวดแบบลึก (นวดแผนไทย) ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kannan, P. (2012). Management of myofascial pain of upper trapezius: A three group comparison study (post graduate study). Centre for Physiotherapy Research, University of Otago, New Zealand.

Melzack, R., Stillwell, D. M., & Fox, E. J. (1977). Trigger points and acupuncture points for pain: Correlations and implications. Pain, 3(1), 3-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-05

How to Cite

สวยงาม ศ., อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ ล., & อาภานันทิกุล ม. (2018). ผลของการนวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับการใช้ยา ต่อความปวดและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ในผู้ที่มีอาการปวดต้นคอและสะบักจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 42–54. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pnc/article/view/118057

ฉบับ

บท

รายงานการวิจัย (Research Report)