ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น

Authors

  • เพ็ญพร เพ็ญพร ทวีบุตร
  • พัชราพร เกิดมงคล
  • ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ

Keywords:

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ภาวะไตเรื้อรัง, ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้, CHRONIC DISEASE, EARLY STAGE KIDNEY DISEASE, KNOWLEDGE, SELF-CARE BEHAVIOR, SUPPORTIVE – EDUCATIVE NURSING PROGRAM

Abstract

โรคไตนับเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของระบบสาธารณสุขทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและประเทศชาติ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้คือผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรังและมีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  คือ กลุ่มทดลองจำนวน 28 คนกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ และเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้ง คือก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และ ระยะติดตาม โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 และ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Two way  Repeated Measure ANOVA และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลตนเอง และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และ 10 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ควรมีการนำโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนให้ความรู้ไปใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังกลุ่มอื่น เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง นอกจากนี้ควรมีการศึกษาผลระยะยาวของโปรแกรมในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่มีภาวะไตเรื้อรังร่วมด้วย

THE EFFECT OF A SUPPORTIVE – EDUCATIVE NURSING PROGRAM FOR CHRONIC DISEASE PATIENTS WITH EARLY STAGE KIDNEY DISEASE

Chronic Kidney disease is an important problem of health systems worldwide that affects physical, mental and social conditions of both patients and the whole country as well. The purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effect of a supportive – educative nursing program for patients with chronic disease and in the early stages of kidney disease. Self-care knowledge and behavior of patients who visited the non-communicable disease out-patient clinic, Sakaeo Crown Prince Hospital were assessed. The experimental group (N=28) participated in three interventions sessions for patients with chronic disease, early stage kidney disease, while the comparison group (N=30) received usual care. Data were collected by self-administered questionnaire at three times; before the intervention and at 6 and 10 weeks after the intervention.

Results revealed that after the intervention the Self-Care knowledge scores of the experimental group were significantly higher than before the intervention and then for the comparison group (p-value<0.05). At the follow up, scores of the experimental group were significantly higher than before the intervention and for the comparison group                (p-value<0.05). For the Self-Care behavior after the intervention, the scores of the experimental group were significantly higher than before intervention score (p-value<0.05) and different from the comparison group. At the follow up, the Self-Care behavior scores of the experimental group were significantly higher than before the intervention              (p-value<0.05) and different from the comparison.

In conclusion, the supportive – educative nursing program administered to patients with chronic disease in the early stage of kidney disease was successful in promoting self-care knowledge and behavior of patients. 


Downloads

How to Cite

เพ็ญพร ทวีบุตร เ., เกิดมงคล พ., & อำนาจสัตย์ซื่อ ข. (2017). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะเริ่มต้น. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 129145. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/97112