ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง

Authors

  • ดวงเดือน ฤทธิเดช
  • สุรินธร กลัมพากร
  • เพลินพิศ สุวรรณอำไพ

Keywords:

พฤติกรรมตามแผน, ข้อมูลย้อนกลับ, พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง, The Theory Planned Behavior, feedback, behavior and noise prevention

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในจังหวัดระยอง จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 32 คน โดยมีเกณฑ์คัดเข้าคือ  เป็นเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีประวัติการทำงานสัมผัสเสียงดังและมีการประเมินการรับสัมผัสเสียงดังเป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันในบรรยากาศการทำงานมีค่า(TWA) ≥85 เดซิเบล(เอ) และทำงานมากกว่า 3 ปี ขึ้นไป โปรแกรมประกอบด้วย กิจกรรมการให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องผลการตรวจการได้ยินในปีปัจจุบัน กิจกรรมการให้ความรู้โดยประยุกต์ใช้พฤติกรรมตามแผน กิจกรรมการให้ข้อมูลย้อนกลับในเรื่องเปรียบเทียบผลเดิมในรอบปีที่ผ่านมารวมถึงคำแนะนำแบบเฉพาะบุคคล กิจกรรมการให้ข้อมูลย้อนกลับในเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามแนวทางของบริษัท เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วัดผลก่อนการทดลอง หลังโปรแกรมการให้ความรู้ และหลังโปรแกรมการให้ความรู้ร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา Independent-sample t-test และ Repeated measures ANOVA 

            ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองโปรแกรมให้ความรู้ร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อการป้องกันอันตรายจากเสียง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง ความ

ตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียง และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)

            ผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนการนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามที่กฎหมายกำหนดในองค์ประกอบหลักคือการอบรมและจูงใจ  การควบคุมเสียงดังที่ตัวพนักงานโดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียง  และการเฝ้าระวังการได้ยิน  

EFFECTS OF APPLYING THE PLANNED BEHAVIOR THEORY AND FEEDBACK ON NOISE  PROTECTION BEHAVIORS AMONG WORKERS IN PETROCHEMICAL INDUSTRY, RAYONG PROVINCE

This quasi-experimental research aimed to study the effects of the program applying the theory of planned behavior coupled with the information feedback on preventive behaviors from harmful noise.  64 samples in the study were selected from the workers in petrochemical industries in Rayong Province; 32 samples were chosen as the experimental group and the other 32 samples as the comparison group. The inclusion criteria was males aged 20 years old and over, who had been working in an environment with loud noise exposure for more than 3 years, and had noise exposure  equal or exceed an 8-hour time-weighted average sound level (TWA) of 85 dB (A). The program intervention included the feedback on the results of individual audiometric test of the current year, the education program that applied the planned behavior, the feedback on the comparison of the past year results as well as personalized advice, and the feedback in regard to the preventive behaviors from harmful noise, both the appropriate behaviors and the inappropriate ones. The comparison group, in the meanwhile, was provided with hearing conservation program in accordance with the company policy.  Data was collected by questionnaires at the pre-test and post-test stages, and after the intervention of education program coupled with feedback.  The data obtained was then analyzed by the use of descriptive statistics; Independent-sample t-test, Paired t-test, and Repeated measures ANOVA.

 The results showed that, after the education program and feedback process, the experimental group had a higher scores of attitudes towards the noise preventive behaviors, the subjective norm of noise preventive behaviors, the perceived efficacy in behavioral control of harmful noise, the intention to develop preventive behaviors, and the practice of preventive behaviors than those before the experiment and also higher than those scores of the comparison group, with statistical significance (p-value < .05).

 The results of this study supported the application of the theory of planned behavior in combination with the feedback with, as required by law, the hearing conservation program. The program should include the key components, which were training and motivation, loud noise control by the employees through the use of personal protective equipment, and occupational noise surveillance program. 

Downloads

How to Cite

ฤทธิเดช ด., กลัมพากร ส., & สุวรรณอำไพ เ. (2017). ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากเสียงของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง จังหวัดระยอง. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 90–109. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/97096

Issue

Section

Research Articles