โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง

Authors

  • ชิตชวรรณ คงเกษม
  • สุนีย์ ละกำปั่น
  • ปิยะธิดา จึงสมาน

Keywords:

โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัว, ทฤษฎีการปรับตัวของ Ro, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้อง, ADAPTATION PROGRAM, ROY’S ADAPTATION MODEL, PATIENTS WITH END STAGE RENAL DISEASE, AMBULATORY PERITONEAL DIALYSIS

Abstract

การล้างไตทางช่องท้องเป็นสิ่งเร้าตรงที่ส่งผลต่อผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยรายใหม่ อายุระหว่าง 30-80 ปีที่ล้างไตทางหน้าท้อง ที่ศูนย์ล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร กรุงเทพมหานคร  เลือกตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า และสุ่มเข้ารับการทดลอง จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 37คน เป็นกลุ่มทดลอง 15 คนและกลุ่มเปรียบเทียบ  22 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เมษายน ถึง ธันวาคม 2557รวม 9 เดือน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมการปรับตัวตามแนวคิดทฤษฎีของ Roy ทั้งหมด 6 ครั้ง ประเมินผลลัพธ์ที่พฤติกรรมการปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วย และด้านพึ่งพาระหว่างกัน ด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Wilcox signed-ranks test, Mann Whitney-U test และ Chi square test

            ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัว กลุ่มทดลองมีการปรับตัวทางด้านร่างกาย การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วย  การปรับตัวด้านพึ่งพา สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ยกเว้นการปรับตัวทางด้านอัตมโนทัศน์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ป่วย การปรับตัวด้านพึ่งพาดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

            จากผลการศึกษาเสนอแนะว่าโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวที่ประยุกต์ทฤษฎีการปรับตัวของ Roy สามารถประยุกต์ใช้ในการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายสามารถปรับตัวต่อการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องได้

A PROGRAM ENHANCING ADAPTATION OF PATIENTS WITH END STAGE RENAL DISEASE AND TREATEMENT BY CONTINUOUS AMBULATORY PERITONEAL DIALYSIS

Peritoneal dialysis is a vital stimulus of patients with end stage renal disease. This quasi-experimental research with two group, pre-post-test design aimed to examine the effects of a program enhancing adaptation for end stage renal disease patients through continuous ambulatory peritoneal dialysis. Subjects were new patients 30-80 years old who were  treated with continuous ambulatory peritoneal dialysis at the Dialysis Center, Banphaeo Hospital. The participants were randomly selected according to inclusion criteria; there were 15 in the experimental group and 22 in the comparison group. The study included 6 nursing activities based on Roy’s Adaptation Model. Nursing outcomes were evaluated by considering four modes of patient’s adaptation behaviors: physical, self-concept, patients’ roles, and interdependency. Data was collected by interview and analyzed by Wilcoxon signed-ranks test,Mann Whitney-U test, and Chi –Square.

After the intervention, the experimental group had statistically, significantly higher adaptive behavior in physical, patients’ roles, and interdependence modesat p<.05. On the other hand, self-concept was not significantly changed. The experimental group hadstatistically significant higher patients’ roles and interdependence than the comparison group (p<.05).

Research findings suggest that this nursing program that applied Roy’s adaptation model canbe usedtohelp patients with end stage renal disease to adapt well when treated by continuous ambulatory peritoneal dialysis

Downloads

How to Cite

คงเกษม ช., ละกำปั่น ส., & จึงสมาน ป. (2017). โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 75–89. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/97094

Issue

Section

Research Articles