ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกต่อภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส

Authors

  • วนิสา วนิสา หะยีเซะ
  • ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์
  • ศิราคริน พิชัยสงคราม

Keywords:

การรับรู้ความสามารถตนเอง, การตอบสนองความต้องการพื้นฐาน, ภาวะสุขภาพ, ทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิม, Perceived self-efficacy, basic needs, Muslim preterm infants

Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกต่อภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส โดยการเปรียบเทียบระดับความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจากผู้ดูแลและทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมอายุ 1-12 เดือน ที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จำนวนทั้งหมด 52 คู่ โดยการจับคู่และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คู่ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของหน่วยงานที่ติดตามมารดาและทารกหลังคลอด กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกเกิดก่อนกำหนด ประกอบด้วย น้ำหนักตัว ความยาวลำตัว และระดับพัฒนาการ ซึ่งได้จากแบบประเมินของกรมอนามัย ตลอดจนโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ สถิติแมนและวิทนี่ย์ ยูเทส และการทดสอบที

         ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองทารกในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าทารกในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.406, p<.001) อย่างไรก็ดีค่าเฉลี่ยความยาวและระดับพัฒนาการของทารกระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ        (p > .05)

         ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกมีประสิทธิภาพ ดังนั้นพยาบาลและผู้มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพมารดาและทารกเกิดก่อนกำหนดควรนำโปรแกรมนี้ ไปใช้ เพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของทารกเกิดก่อนกำหนดและช่วยให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย

Effects of a perceived self-efficacy promotion program for caregivers responding to the basic needs of healthy Muslim preterm infants in Naradhiwas province

      This quasi-experimental two-group posttest-only research aimed to examine effects of a perceived self-efficacy promotion program of caregivers responding to the basic needs of of healthy Muslim preterm infantsin Naradthiwas province by comparing assessment of health and wellness of the preterm infants between a control and  intervention group after the intervention. Subjects included 52 dyads,a Muslim caregiver and their 1-12 month old preterm infant, who were discharged from Naradthiwas hospitals.They were recruited and later randomly assigned to either the control or intervention group with 26 dyads in each group. The control group received usual care as scheduledfrom the maternal and child postpartum follow-up unit. The intervention group received the usual care plus the intervention program. Research instruments consisted of a demographic questionnaire and a health assessment instrument for each infantthat included body weight, length, and developmental level. These instruments of the Department of Health and the perceived self-efficacy promotion program for caregivers were previously validated by content experts. Data were reported andanalyzed using frequency, percent, mean, standard deviation, chi-square, Mann-Whitney   U test and t-test.

            Results after the intervention showed that the body weight of infants in the experimental group increased more than in the control group (t = 4.406, p<.001). However, body length and developmentallevels of infants between the experimental and the control group did not differ significantly(p>.05).

            These findings suggest that this perceived self-efficacy promotion program for caregivers responding to the basic needs of infants was effective. Nurses and related health-care personnel, who are responsible for caring for the health of mothers and preterm infantsshould promote caregivers’ knowledge and self-efficacy in responding to the basic needs of preterm infants and to increase infant body weight.


Downloads

How to Cite

วนิสา หะยีเซะ ว., หวังสวัสดิ์ ธ., & พิชัยสงคราม ศ. (2017). ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทารกต่อภาวะสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดมุสลิมในจังหวัดนราธิวาส. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 60–74. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/97091

Issue

Section

Research Articles