ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ภาฤดี ภาฤดี พันธุ์พรม
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน

Keywords:

โปรแกรมควบคุมน้ำหนัก, การกำกับตนเอง, ดัชนีมวลกาย, ความคาดหวังในผลลัพธ์, การบริโภค, การออกกำลังกาย, weight-control program, self-regulation, body mass index, outcome expectancy, consumption, exercise

Abstract

       คนที่มีน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา โดยเฉพาะประชาชนวัยทำงานอายุ 35-60 ปีมีความเสี่ยง 7-20% การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน อายุ 35-60 ปี จำนวน 60 คน ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก/ม² ขึ้นไป ซึ่งสุ่มมาตำบลละ 30 คน จำนวน 2 ตำบล  ในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการจับสลาก  เก็บรวบรวมแบบสอบถามส่งให้ตอบในห้องทดลองและห้องประชุม ก่อนและหลังการทดลอง ส่วนวัดความคาดหวังในผลลัพธ์ พฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายมีความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.96, 0.77 และ 0.96 ตามลำดับ ประชาชนกลุ่มทดลองให้โปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองตามแนวคิดของซิมเมอร์แมน เป็นเวลา 9 สัปดาห์ ๆละ 1 ครั้ง ๆ ละ 50 นาที ดำเนินกิจกรรมโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยสอน สำหรับประชาชนกลุ่มเปรียบเทียบดำเนินชีวิตตามปกติ  ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

        หลังการทดลอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่           (p <0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าของประชาชนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ (p<0.001) และดัชนีมวลกายของประชาชนกลุ่มทดลองลดลงเหลือน้อยกว่าก่อนทดลองและลดลงเหลือน้อยกว่าประชาชนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ (p < 0.05) แสดงว่าโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่ประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองที่สร้างขึ้นผลดี มีส่วนทำให้ประชาชนที่มีน้ำหนักเกินมีดัชนีมวลกายลดลง ฉะนั้น จึงควรสนับสนุนให้นักวิชาการสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้

THE RESULTS OF THE WEIGHT-CONTROL PROGRAM ON APPLYING THE CONCEPT OF SELF-REGULATION TOWARDS BODY MASS INDEX OF PEOPLE WITH OVERWEIGHT IN BOTHONG DISTRICT, CHONBURI PROVINCE 

People who are overweight are risk factors for the illness with diabetes, hypertension and cardiovascular disease, by especially people aged 35-60 years are at  risk  7-20%. The purpose of this research was to study the results of the weight-control program on applying the concept of self-regulation towards body mass index of people who were overweight. The sample consisted of 60 peoples aged 35-60 years with a BMI of 23 kg/m² or more, which randomly selected from two sub-districts each of 30 peoples in Bothong district, Chonburi province and randomly assigned to experimental group and comparison group with the simple random sampling. Data were collected by questionnaire sent to reply in classroom and meeting room before and after the experimented. The questionnaire in the part of outcome expectancy, consumption behavior and exercise behavior with consistency reliability by coefficient alpha 0.96, 0.77 and 0.96 respectively. People in experimental group was received this weight-control program by applying the concept of Zimmerman’s self-regulation for 9 weeks once a week for 50 minutes by researcher and teaching assistants. For comparison group was received by normal lifestyle. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, paired t-test and Independent t-test. The results showed that:

            After the experimented, outcome expectancy, consumption behavior and exercise behavior there were the mean score of experimental group higher than before experiment significantly at (p<0.001) and over the mean score of the comparison group significantly at (p<0.001). BMI of experimental group was down to less than before the experimented and reduced to less than comparison group significantly at (p = 0.05) indicating that program applied the concept of self-regulation to good affect, contributed to overweight people had received this program they had BMI to reduced. So, it should encourage the academic public health officers and relevant people for use this program 

Downloads

How to Cite

ภาฤดี พันธุ์พรม ภ., รอดจากภัย ย., & วิรัตน์เศรษฐสิน ก. (2017). ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. Journal of Public Health Nursing, 31(1), 44–59. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/97090

Issue

Section

Research Articles