ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม แปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง
Keywords:
การสูญเสียการได้ยิน, การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน, โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ, Hearing loss, Audiometry, Natural rubber processing industryAbstract
เสียงดังในสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพและทำให้พนักงานเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นปัญหาที่สำคัญของพนักงานในปัจจุบัน การวิจัยแบบบรรยายความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการสูญเสียการได้ยิน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่สัมผัสเสียงดังในโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยิน แบบบันทึกข้อมูลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน และแบบบันทึกข้อมูลการสำรวจและการตรวจวัดระดับเสียง (2) เครื่องมือวัด ประกอบด้วย เครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer) และเครื่องตรวจวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค–สแควร์
ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ มีความชุกของการสูญเสียการได้ยิน ร้อยละ 60.0 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (χ2=43.9, p-value <0.001) พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง (χ2=4.6, p-value <0.05) และ อายุการทำงาน (χ2=46.9, p-value <0.001)
RELATED FACTORS OF HEARING LOSS AMONG NATURAL RUBBER PROCESSING INDUSTRY WORKERS IN RAYONG
Noise in working environment is a significant occupational health hazard and conducive to hearing loss among workers. Noise induced hearing loss (NIHL) remains importance health problem among workers nowadays. The purpose of this descriptive correlation research was to determine the prevalence rate of hearing loss among natural rubber processing industry workers and to investigate the relationship between personal characteristics, working factors, and environmental factor with hearing loss. Subjects consisted of 105 workers who work at natural rubber processing industry in Rayong province. Research instruments included data collection forms and measure instruments. Data were collected by using three record forms that consisted of factors related to hearing capacity interview record form, hearing loss record form and surveyed and measured sound level record form. Audiometry examination was done by audiometer and noise level was surveyed and measured by sound level meter. Descriptive statistics, Chi - square test was used to analyze data.
The study results revealed that 60.0 percent of sample had hearing loss. The significant correlations were also found between hearing capacity and age (χ2=43.9, p-value < 0.001), frequency of wearing hearing protection devices (χ2=4.6, p-value <0.05) and years of employment (χ2=46.9, p-value <0.001).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)