ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • อโนทัย ฟุ้งขจร
  • ยุวดี รอดจากภัย

Keywords:

โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความคาดหวังในผลลัพธ์, การหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, program self-efficacy enhancement, self-efficacy, outcome expectancy, alcohol drinking refusal, lat

Abstract

      เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้มึนเมา หมดสติและอาจตายได้ นักเรียนและวัยรุ่นมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 20% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน จากโรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งสุ่มด้วยการจับสลากมา 2 ห้อง และสุ่มเข้ากลุ่มด้วยการจับสลากให้เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องและกลุ่มเปรียบเทียบ 1 ห้อง มีนักเรียน 30 คนในแต่ละกลุ่ม ข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถามส่งให้ตอบในห้องเรียนก่อนการทดลองและหลังการทดลองซึ่งส่วนที่วัดการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์

และพฤติกรรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเที่ยงแบบอัลฟา 0.94, 0.89, 0.85 ตามลำดับ นักเรียนกลุ่มทดลองให้โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน 6 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้งๆ ละ 50 นาที ดำเนินกิจกรรมโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยสอน สำหรับนักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบเรียนตามปกติ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

            หลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 และหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.001 แสดงว่าโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนที่สร้างขึ้นให้ผลดีมีส่วนทำให้นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมมีพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดีขึ้น ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้อาจารย์นำโปรแกรมนี้ไปใช้สอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

EFFECTS OF SELF-EFFICACY ENHANCEMENT ON PERCEIVED SELF-EFFICACY, OUTCOME EXPECTANCY AND ALCOHOL DRINKING REFUSAL LATE SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN BOTHONG DISTRICT, CHONBURI PROVINCE

hong district, Chonburi province. Students were randomly selected two classroom and assigned into experimental group and comparison group. There were 30 students in each group. Students in experimental group was carried out for six weeks, each week for one time each for 50 minutes by researcher and teaching assistants, for students comparison group was not received. Data were collected at pre-test and post-test by questionnaire for students in classroom on perceived self-efficacy, outcome expectancy and alcohol drinking refusal reliability by coefficient alpha 0.94, 0.89 and 0.85 respectively. Data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, paired t-test and independent t-test. The findings showed that:

         After program implementation, students in experimental group had mean scores improved on perceived self-efficacy, outcome expectancy and alcohol drinking refusal more than before experiment and mean scores of students in comparison group significantly at 0.001. So it was indicated this program to be good. Therefore, it should be support teachers in the late secondary school students have brought this program to use.

 

Downloads

How to Cite

ฟุ้งขจร อ., & รอดจากภัย ย. (2017). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. Journal of Public Health Nursing, 30(3), 41–55. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/96555