ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง

Authors

  • อนัญฐ์ณิศา มณีวงศ์
  • นฤมล เอื้อมณีกูล
  • สุรินธร กลัมพากร
  • วันเพ็ญ แก้วปาน

Keywords:

สมรรถนะด้านการวิจัย, ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบิร์ก, ยาบาลสาธารณสุข, Research competency, Two factor theory of herzberg, Public health nurses

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตภาคกลางและมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 362 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง ตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยรวมมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบราคเท่ากับ 0.871 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.767 ปัจจัยจูงใจเท่ากับ 0.757 ปัจจัยค้ำจุนเท่ากับ 0.877 และสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขเท่ากับ 0.872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิตพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุการทำงานเฉลี่ย 15.25 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติทั่วไป ร้อยละ 63.46 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำวิจัย และไม่เคยมีประสบการณ์ในการนำเสนองานวิจัยร้อยละ 61.6 และ 91.16 ตามลำดับ ทั้งนี้ยังพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีความสนใจที่จะทำวิจัยถึงร้อยละ 79.01 อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างยังประเมินว่ามีสมรรถนะด้านการวิจัยอยู่ในระดับกลาง (`x = 54.94, SD = 9.38) ซึ่งมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยสูงที่สุด (`x = 3.05, SD = 0.65) และสมรรถนะด้านความสามารถในการทำวิจัยต่ำที่สุด(`x = 2.68, SD = 0.45) โดยปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนได้พบว่าความรู้เกี่ยวกับการวิจัย ความรับผิดชอบ ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย ความสนใจที่จะทำงานวิจัย และงบประมาณสนับสนุนการทำวิจัยกับค่าตอบแทนจากการทำวิจัย สามารถร่วมพยากรณ์สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขได้ร้อยละ 55.3

            ผลการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขให้ดีขึ้น โดยผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานควรกำหนดเป็นแผนงานหรือนโยบายให้บุคลากรได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และส่งเสริมให้ทำผลงานวิจัยในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ให้การสนับสนุนจัดสรรงบประมาณหรือจัดหาทุนวิจัย รวมทั้งมีค่าตอบแทนจากการทำวิจัยให้แก่พยาบาลสาธารณสุข เพื่อช่วยเพิ่มพูนสมรรถนะด้านการวิจัยให้แก่พยาบาลสาธารณสุข

FACTORS INFLUENCING RESEARCH COMPETENCY AMONG  PUBLIC  HEALTH  NURSES IN CENTRAL REGION THAILAND

        The purpose of this descriptive correlative research was to study factors influencing to research competency among public health nurses in the central region of Thailand. The sample were 362 public health nurses working for primary care units, and have more experience than 1 year. drawn from multi-stage random sampling. Data was collected by a set of self-administered questionnaires, and check by three experts person was a validity of 0.67 to 1.00. This part consists of  personal factors about knowledge on research with a reliability of 0.767, motivator factors with a reliability of 0.757, hygiene factors with a reliability of 0.877, and research competency with a reliability of 0.872, were analyzed by descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression analysis.

            The results showed that public health nurses rated their research competency at moderate level with mean score of 54.94 ± 9.38.  Motivating factors and hygiene factors were positively related with research competency at p-value <0.05. The result from stepwise multiple regression analysis revealed that knowledge about the research, research responsibility, presenting research results experience, attention to research, and budgetary support altogether could predict research competency among public health nurses 55.3 %

            The study recommend using research results could be used for policy driven to encourage research competency among public health nurses, especially, research knowledge and budgeting support.

 


Downloads

Published

2016-12-30

How to Cite

มณีวงศ์ อ., เอื้อมณีกูล น., กลัมพากร ส., & แก้วปาน ว. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง. Journal of Public Health Nursing, 30(3), 1–15. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/96505

Issue

Section

Research Articles