ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม*

Authors

  • กนกอร เจริญผล
  • ฉันทนา จันทวงศ์
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

Keywords:

พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน, คนงานก่อสร้าง, Preventive accidental working behavior, Construction worker

Abstract

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และความสามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ คนงานก่อสร้างระดับปฏิบัติงานที่ทำงานก่อสร้างในโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 359 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้สัดส่วนตามลักษณะงานที่รับเหมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้รับคืน ร้อยละ 100 ตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน แรงสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึงแหล่งประโยชน์ และพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .75 - .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า คนงานก่อสร้างมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุโดยรวมอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน ได้แก่ (1) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ (r = .334, p-value < .001) (2) การรับรู้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (r = .263, p-value < .001) (3) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุ (r = .259, p-value < .001) (4) การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ (r = .211,  p-value < .001) (5) การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (r = .206, p-value < .001) (6) การศึกษา (r = .137, p-value < .01 ) (7) แรงสนับสนุนทางสังคม (r = .150, p-value < .01) (8) ประสบการณ์การทำงาน (r = .089, p-value < .05) โดยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การรับรู้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุ การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุได้ร้อยละ 21.6 ( F= 19.093 , p-value < .05)

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย พยาบาลในสถานประกอบการควรจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุโดยเน้นเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะงาน และเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุเพื่อให้คนงานได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุที่ดี มีการประสานงานกับผู้บริหารบริษัทก่อสร้างและแผนกความปลอดภัยเพื่อร่วมกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย

 

FACTORS INFLUENCING PREVENTIVE ACCIDENTAL WORKING BEHAVIORS AMONG CONSTRUCTION WORKERS IN INDUSTRIAL SECTOR


ABSTRACT

This study was aimed to determined factors related to and influencing accidental preventive working behaviors of construction workers in industrial sectors. The participants were recruited from shop floor construction worker in oil refinery, Chon Buri Province, Thailand. The participants consisted of 359 construction workers were recruited by using a proportionate simple random sampling method. Data were collected through the questionnaires with 100 percent return. The reliabilities of knowledge, perception, supporting Personal Protective Equipment, social support and resource accessibility questionnaires yielded values = 0.75 - 0.88. Descriptive statistic analysis, Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis were used for data analysis.

The results revealed that accidental preventive working behaviors related to eight factors, i.e., (1) knowledge (r = .334, p-value < .001) (2) risk perception (r = .263, p-value < .001) (3) benefit perception (r = .259, p-value < .001) (4) severity perception (r = .211, p-value < .001) (5) supporting Personal Protective Equipment (PPE) (r = .206, p-value < .001) (6) education (r = .137, p-value < .01 ) (7) social support (r = .150, p-value < .01)  (8) work experience (r = .089,     p-value < .05). It was found that, knowledge, risk perception, benefit perception, supporting PPE  and education could predict preventive accidental working behaviors among construction worker in industrial sector at the level of 21.6% (F = 19.093, p-value < .05)

The results of this study could recommend that nurse should educate workers concerning PPE using that fit for work. Educating workers for enhancing  risk perception, benefit perception, severe perception  in order to become aware of  accidental preventive working behaviors resulting in reducing the incident of accident and coordinate  with safety manager of construction company  for setting up the  safety work procedures .


Downloads

Published

2016-08-30

How to Cite

เจริญผล ก., จันทวงศ์ ฉ., & ลีลัคนาวีระ ย. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม*. Journal of Public Health Nursing, 30(2), 64–80. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/67974