การจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี

Authors

  • สศิกร อุณหบัณฑิต
  • นงนุช บุญยัง
  • วิมลรัตน์ จงเจริญ

Keywords:

การจัดบริการสุขภาพ, วิถีอิสลาม, คลินิกฝากครรภ์, โรงพยาบาลชุมชน

Abstract

การจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัด บริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ 2) การจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามการรับรู้ของสามี และ 3) เปรียบเทียบการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ ระหว่างการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์จำนวน 80 ราย และสามีจำนวน 80 รายที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่เข้ารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ในช่วงเดือน มกราคม 2556- มีนาคม 2557 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิก ฝากครรภ์ ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี ทดสอบความตรงของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี เท่ากับ .91 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าคะแนนเฉลี่ยของหญิงตั้งครรภ์และสามี โดยการทดสอบทีอิสระ (Independent t-test)

ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์อยู่ในระดับดี (=3.71, SD=.30) โดยพบว่าทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี และด้านการบริการผู้ป่วยนอกตามวิถีอิสลามมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (=3.91, SD=.34) รองลงมาเป็นการจัดบริการด้านยา (=3.81, SD=.23) สำหรับคะแนนเฉลี่ยโดยรวมของการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ ตามการรับรู้ของสามีอยู่ในระดับดี (=3.70, SD=.27) โดยพบว่าทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี และด้านการบริการผู้ป่วยนอกตามวิถีอิสลามมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (=3.82, SD=.33) รองลงมาเป็นการจัดบริการด้านยา (=3.78, SD=.23) เมื่อเปรียบ- เทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การจัดบริการสุขภาพที่คลินิกฝากครรภ์ระหว่างการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามีพบว่ามีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =.33, p-value >. 05)

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่นับถือศาสนาอิสลามได้อย่างมีคุณภาพในมุมมองของผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น

 

HEALTHCARE SERVICES BASED ON ISLAMIC WAY IN THE ANTENATAL CARE CLINIC OF COMMUNITY HOSPITALS IN THE THREE SOUTHERNMOST PROVINCES AS PERCEIVED BY PREGNANT WOMEN AND HUSBANDS


The objectives of this descriptive research were to 1) study healthcare services based on Islamic way in the antenatal care clinic (ANC) of community hospitals in the three southernmost provinces as perceived by pregnant women, 2) study healthcare services based on Islamic way in the ANC of community hospitals in the three southernmost provinces as perceived by husbands, and 3) compare the perceptions of the pregnant women and husbands. The sample comprised 80 cases of Islamic pregnant women and 80 cases of Islamic husbands receiving services in the ANC of community hospitals in the three southernmost provinces. Subjects were selected by Quota sampling. The questionnaires comprised two sets, set one for pregnant women and set two for husbands. The instrument for set one was composed of two parts: part 1) demographic data and part 2) perception of pregnant women toward healthcare service based on Islamic way in the ANC; that for set two was composed of two parts: part 1) demographic data, and part 2) perception of husbands toward healthcare services based on Islamic way in the ANC. The questionnaire part 2 was tested for content validity by three experts and was tested for their reliability by using Cronbach's alpha coefficient yielding a value of .91 and .93 respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The comparison for mean difference of the perception of the pregnant women and her husbands was tested by independent t-test.

         The results showed that for pregnant women the mean total score of healthcare services based on Islamic way in the antenatal clinic of community hospitals in the three southernmost provinces as perceived by pregnant women was at a good level (M=3.71, SD=.30). When considered by dimensions, the mean scores of all dimensions were at a good level, the perception regarding Islamic way of outpatient services was the highest mean score (M=3.91, SD=.34), followed by the medical services system (M=3.81, SD=.23). For husbands, the mean total score of perception regarding healthcare services based on Islamic way at the antenatal clinic was at a good level (M = 3.70, SD =.27). When considered by dimensions, the mean scores of all dimensions were at a good level, the Islamic way of outpatient services was the highest score (M=3.82, SD=.33), followed by the medical service system (M=3.78, SD=.23). A comparison between perceptions of pregnant women and husbands toward the healthcare services at ANC showed no significant difference (t=.33, p-value >.05).

         Results of this study can be used as baseline data in the development of healthcare services based on Islamic way in the antenatal care clinic of community hospitals in the three southernmost provinces for enhancing the quality of services and fully responding to the needs of  Islamic patients.

 


Downloads

Published

2016-04-30

How to Cite

อุณหบัณฑิต ส., บุญยัง น., & จงเจริญ ว. (2016). การจัดบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมชน 3 จังหวัดชายแดนใต้ตามการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์และสามี. Journal of Public Health Nursing, 30(1), 13–27. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/67905