ความต้องการด้านจิตวิญญาณในการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อยวัยอันควรในวัยรุ่นไทย

Authors

  • ศศิธร รุจนเวช อาจารย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • อุษา ตันฑพงษ์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

Keywords:

ความต้องการด้านจิตวิญญาณ, การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส, วัยรุ่นไทย Spiritual needs, Pre-marital sex, Thai adolescents

Abstract

การมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของวัยรุ่นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย จากการที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสเร็วขึ้นทำให้วัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อปัญหาทางเพศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อ ศึกษาระดับภาวะของจิตวิญญาณ และความต้องการด้านจิตวิญญาณของวัยรุ่นไทยต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนสมรส ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและกำลังศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอ สามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แนวสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและแบบวัดภาวะจิตวิญญาณไทย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าความตรงของเนื้อหา ระหว่าง 0 .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีภาวะจิตวิญญาณระดับปานกลาง (ร้อยละ 88.30) มีความเชื่อทางด้านศาสนาเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม (ร้อยละ 58.30) และมีการปฏิบัติทางด้านจิตวิญญาณโดยการสวดมนต์หรือทำสมาธิเมื่อมีเหตุการณ์ในชีวิตที่ทำให้เกิด ความเครียด (31.70%) มีความต้องการด้านจิตวิญญาณในการมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้ครอบครัวมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาจิตวิญญาณ ปลูกฝังความเชื่อและการปฏิบัติตามหลักศาสนาพุทธ การรักษาศีลห้า การมี หิริ โอตตัปปะ ทำให้ละอายต่อบาป ความเชื่อและปฏิบัติตามหลักทางศาสนาได้แก่ การทำบุญ/ใส่บาตร การสวดมนต์ การฝึกสมาธิ ช่วยทำให้ มีสติและปัญญาในการพิจารณาละเว้นพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสได้ ผู้ให้ข้อมูล ต้องการให้โรงเรียนจัดกิจกรรมโดยให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัดค่ายธรรมะในโรงเรียนเพื่อการปลูกฝัง คุณธรรมและจริยธรรม ต้องการการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น นอกจากนั้นการได้รับความรักและกำลังใจจาก ครอบครัวและเพื่อน ช่วยส่งเสริมความสามารถในการเผชิญปัญหาและนำไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีส่วนร่วมกับครอบครัว โรงเรียนและชุมชนในการดูแลวัยรุ่น เพื่อส่งเสริมการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณของวัยรุ่นอันจะส่งผล ดีต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม

 

SPIRITUAL NEEDS RELATED TO PREVENTION OF PRE-MARITAL SEX AMONG THAI ADOLESCENTS

Early sexual behavior is an important public health concern because of related risky sexual behaviors. The purpose of this descriptive research was to study the spiritual level and spiritual needs of Thai adolescents to prevention of pre-marital sex among Thai adolescents. The respondents consisted of 60 students who were Buddhists, and were studying at a secondary school at Sampran District, Nakhon Pathom Province. The instrument consisted focus groups interview guideline, and Thai spirituality measurement. The instrument was validated by experts with an IOC from 0.67-1.00, and the reliability was 0.76. The descriptive statistics and content analysis were used for data analysis.

The results revealed that most of key informants had a moderate spiritual level (88.3%) which included belief in karma (58.3%), and religious prayer or meditation when confronted with life stressful situation (31.7%). Adolescents needed the spiritual needs for finding meaning and purpose of life. The family plays an important role in developing adolescents’ spirituality by teaching the Buddha’s principles and religious practice included five precepts, and retrain from doing sin. The religious belief and practice included Tamboon/ Saibat, religious prayer, and meditation practice were useful for emotional relief, consciousness, and wisdom in abstinence of inappropriate behaviors. The key informants needed the school to provide the Dhamma camp with family’s participation. They also needed interpersonal connection, loving and empowering from family and friends in order to enhance coping abilities and achieve the purpose of their lives.

The researcher suggests that community nurse practitioner, relevant organization should participate with families, school, and community in promoting spiritual needs to adolescents. Therefore, the adolescents who attain the spiritual need will achieve their life goal and gain appropriate sexual behaviors

Downloads

How to Cite

รุจนเวช ศ., ฉัตรดอกไม้ไพร ก., & ตันฑพงษ์ อ. (2016). ความต้องการด้านจิตวิญญาณในการป้องกันพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อยวัยอันควรในวัยรุ่นไทย. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 90–102. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48590