อุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดการพลัดตกหกล้มที่บ้านของผู้ป่วยภายหลังออกจากโรงพยาบาล

Authors

  • อนงค์ ดิษฐสังข์ พยาบาลชำนาญการ งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นรีมาลย์ นีละไพจิตร อาจารย์ สาขาการพยาบาลชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชระกรพจน์ ศรีประสาร พยาบาลวิชาชีพ งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การพลัดตกหกล้ม, หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล, ดัชนีบาร์เทล, Falls, Hospital Discharge, Barthel Index

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้า (Prospective cohort study) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และผลจากการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้าน จากหน่วยบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน งานการพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดีจำนวน 153 ราย การเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ดูแล ลักษณะการอยู่อาศัยและลักษณะบ้าน ภาวะพึ่งพาในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ดัชนีบาร์เทล) และ ข้อมูลการเกิดการพลัดตกหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบปัจจัยระหว่างกลุ่มที่เกิด และไม่เกิดการพลัดตกหกล้มโดยใช้ Pearson’s Chi-square หรือ Fisher’s exact test และ Multiple logistic regression

ผลการวิจัยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นร้อยละ 13.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดการพลัดตกหกล้ม พบว่า ความสามารถในกิจวัตรประจำวัน (Barthel index) และสิ่งแวดล้อมของบ้านที่อยู่อาศัย คือ การที่พื้นบ้านมีโอกาสลื่นล้ม/ ไม่มีราวบันได มีความสัมพันธ์กับการเกิดการพลัดตกหกล้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) โดยผู้ที่มีความสามารถในกิจวัตรประจำวัน Barthel index > 5 จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุเป็น 4 เท่า ของผู้ที่มีความสามารถในกิจวัตรประจำวัน Barthel index ≤ 5 (95%CI = 1.093-14.760) ส่วนที่อยู่ในบ้านที่พื้นบ้านมีโอกาสลื่นล้ม/ ไม่มีราวบันได มีโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้มเป็น 4.3 เท่า ของผู้ที่ไม่ได้อาศัยในบ้านที่มีโอกาสลื่นล้ม/ ไม่มีราวบันได (95%CI = 1.612-11.859) ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนการ การจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่บ้าน ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

 

INCIDENCE AND FACTORS RELATED TO FALLS AMONG PATIENTS AFTER HOSPITAL DISCHARGE

The purposes of this prospective cohort study were to determine the incidence of falls and its associated factors among patients after discharge from hospital. The study sample consisted of 153 patients who discharge from hospital and received care from home health care unit in Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Data were collected at the patient’s homes within one month after the patients discharged from the hospital. Data were collected includes data on sociodemographic, health status, caregivers, the environment of the house, activity of daily living (Barthel Index) and fall episodes. Then the data were analyzed using descriptive statistics, and Multiple logistic regression analysis.

The results showed that the incidence of falls were 13.7 percents. Factors associating with higher risk for falls included activity of daily living (Barthel Index >5) (OR: 4.01, p-value < .05) and slippery ground (OR: 4.37, p-value < .05). The results of this study can be used to provide care for protecting and reducing the risk of falls especially within 1 week of the patients who were discharged from hospital

Downloads

How to Cite

ดิษฐสังข์ อ., นีละไพจิตร น., & ศรีประสาร พ. (2016). อุบัติการณ์และปัจจัยการเกิดการพลัดตกหกล้มที่บ้านของผู้ป่วยภายหลังออกจากโรงพยาบาล. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 78–89. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48587