ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

Authors

  • พิเชต วงรอต อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รสสุคนธ์ วาริทสกุล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

ความผูกพันในงาน, การรับรู้การสนับสนุน, การแพทย์ฉุกเฉิน, Work engagement, Perceived support, Emergency Medical service

Abstract

การศึกษาภาคตัดขวางปัจจัยทำนายความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และมีประสบการณ์ของการทำงานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 558 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และแบบ ประเมินความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติ ถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการรับรู้การสนับสนุน จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ อยู่ในระดับดี (Mean = 3.708, SD = .694) มีความผูกพันในงานการแพทย์ ฉุกเฉิน อยู่ในระดับดี (Mean = 3.974, SD = .735) และการรับรู้การสนับสนุน (r = .630, p-value < .01) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ (r = -.100, p-value < .05) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ถดถอยพหุคูณ พบว่าการรับรู้การสนับสนุน อายุ และประสบการณ์ทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สามารถทำนาย ความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติการรับรู้การสนับสนุน (F = 86.348, p-value < .01) และสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ร้อยละ 37.5 โดยปัจจัยที่ สามารถทำนายความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้การสนับสนุน (β = .620, p-value < .001) และประสบการณ์ทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (β = .147, p-value < .001) ขณะที่อายุไม่ สามารถทำนายความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินได้

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินควรวางแผนใน การสนับสนุนผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างรอบด้าน ทั้งด้านบุคลากรที่ให้การสนับสนุน ด้านขั้นตอน/ กระบวนการ และสิ่งอ านวยความสะดวก เพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินมีความผูกพันใน งานการแพทย์ฉุกเฉินมากยิ่งขึ้น

 

FACTORS AFFECTING THE EMERGENCY MEDICAL SERVICE-RELATED WORK ENGAGEMENT OF EMERGENCY MEDICAL SERVICE PROVIDERS UNDER THAI LOCAL GOVERNMENT ORGANIZATIONS

A cross-sectional predictive design was used to study the relationships between the emergency medical service-related work engagement and the perceived support of emergency medical service (EMS) providers under Thai local government organizations. The sample group included 558 EMS providers who employed by local government organizations and had at least one year of working experience as EMS provider. The research outcomes were measured by the National Institute for Emergency Medicine (NIEM) supporting satisfaction questionnaires and the EMS-related Work Engagement scale. Descriptive statistics, Pearson’s Correlation Coefficient and multiple linear regression were used for data analysis.

The results revealed that EMS providers under Thai local government organizations perceived support was good (mean = 3.708, SD = .694), and the EMS-related work engagement was good (mean = 3.974, SD = .735). Perceived support had positive relationships with the EMS related work engagement (r = .630, p-value < .01). In contrast, age had negative relationships with EMS-related work engagement (r = -.100, p-value < .05). Finally, perceived support, age, and working experienced were statistically significant predictors of emergency medical service-related work engagement (F = 86.348, p-value < .01) and could explain variance of emergency medical service-related work engagement by 37.5%. The factors that significantly predicted emergency medical service-related work engagement were the perceived support (β = .620, p-value < .001) and EMS work experience (β = .147, p-value < .001), while age did not.

The recommendations from this study, the trends to improve EMS provider engagement should emphasize on comprehensively supporting in manpower, standard procedures, and essential facilities should be taken into consideration by both the local government organizations and NIEM.

Downloads

How to Cite

วงรอต พ., & วาริทสกุล ร. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในงานการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 65–77. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48581