ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในทหารที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
Keywords:
ภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ, พฤติกรรมการรับประทานยา, ทหาร, Primary Hypertension, Drug Use Behavior, SoldierAbstract
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การรับประทานยาในทหารที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ หน่วย ร.1รอ. (กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) กรุงเทพมหานคร จำนวน 260 ราย ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนธันวาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผ่าน การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.88 ผู้วิจัยทำหนังสือเสนอขอจริยธรรมต่อมหาวิทยาลัย ได้รับการตรวจสอบเนื้อหา และปรับแก้ตามข้อเสนอแนะ จากคณะกรรมการจริยธรรม ผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ของการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของทหารที่มี ภาวะความดันโลหิตสูงด้วยสถิติเชิงพรรณนานาเสนอด้วยจำนวนและร้อยละ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมการรับประทานยาของทหารที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ด้วยสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่าทหารส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 51-55 ปี ระดับการศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาท มีสถานภาพคู่ ทหารปฏิบัติงานทั้งภายในหน่วยและภารกิจพิเศษ สถานภาพในที่ทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงาน ลักษณะงานเป็นทั้งงานเอกสารหรือธุรการและฝึกภาคสนาม ทหารมีพฤติกรรมเกี่ยวกับ การรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65) มีการรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.81ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57) การรับรู้อุปสรรคในการรับประทานยา อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.94 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60) และความสามารถของตนเองในการรับประทาน ยาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64) ตามลำดับ ด้านความรู้สึก อิทธิพลของบุคคล รอบข้าง และอิทธิพลจากสถานการณ์ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยา ได้แก่ สถานภาพสมรส สถานที่ทำงาน ลักษณะงาน และรายได้สุทธิหักค่าใช้จ่ายแล้วต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการรับประทานยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) รวมทั้งด้านความรู้สึก อิทธิพลของบุคคลรอบข้าง และอิทธิพลจากสถานการณ์ ในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อพฤติกรรม การรับประทานยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05 )
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะว่าบุคลากรทีมสุขภาพควรนำปัจจัยที่มีนัยสำคัญมาออกแบบ กิจกรรมการพยาบาล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องให้ทหารที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง ชนิดไม่ทราบสาเหตุ และติดตามผลของกิจกรรมการพยาบาลนั้นๆ
FACTORS INFLUENING ON DRUG USE BEHAVIORS IN SOLDIERS WITH PRIMARY HYPERTENSION
The objective of this descriptive research was to study and analyze factors influencing on drug use behaviors in soldiers with primary hypertension. The 260 samples were selected by purposive sampling following the criteria. Data were collected by a self-administered questionnaires used between March 2012 to December 2012. Five experts examined content validity and reliability of questionnaires with alpha-coefficient was 0.88. Data were analyzed by number and percentage, mean and standard deviation. T-test was used to analyze factors influencing drug used behaviors.
The results revealed that majority of soldiers were 51-55 years old, finished high school, married, worked as formal and special task. Most of them were officers, working as general service officer and field service. Almost of them are non-commander, working as administration stator, paper works and field service. The mean scores of drug use behaviors in soldiers with primary hypertension was at the moderate level. (Mean 3.01, S.D. 0.65) The mean score of perceived benefits of drug use was at the high level. (Mean 3.81, S.D. 0.57) The perceived barriers to drug use was at the moderate level. (Mean 2.94, S.D. 0.60) And also perceived self efficacy to drug use was at the moderate level. (Mean 3.13, S.D. 0.64) The activity related affect, inter personal influence and situational influence to drug use was at the moderate level. (Mean 3.12, S.D. 0.48)
Factors that effected to drug use behaviors were marital status, working status and income. (p-value < 0.05) In addition, perceived benefits, perceived barriers of drug use and perceived selfefficacy, including activity related affect (p-value < 0.01), inter personal influence and situational influence to drug use were the factors affecting drug use behaviors with a statistical significance. (p-value < 0.05)
This study suggested that health care providers should bring the crucial factors to design nursing activity to promote drug use behaviors correctly for the soldiers with primary hypertension and follow up the out come.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)