ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Authors

  • สุปราณี เฟื่องฟุ้ง นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นพวรรณ เปียซื่อ รองศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมควบคุมอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยน, ความรู้, พฤติกรรมสุขภาพ, ระดับน้ำตาลในเลือดำ, Diet control program using food exchange, Knowledge, food consumption behaviors, Blood glucose

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม ควบคุม อาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 ราย ที่ได้รับการ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มทดลอง (30 ราย) และกลุ่มควบคุม (30 ราย) กลุ่มทดลองเข้าร่วม โปรแกรมควบคุมอาหารที่ใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนภายใต้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โปรแกรมประกอบด้วย การให้ความรู้เป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยใช้วิดีทัศน์ แผ่นพับอาหารแลกเปลี่ยน และ แบบจำลองจานอาหารซึ่งนำมาใช้ในการสาธิตและสาธิตย้อนกลับเพื่อวางแผนและประเมินการบริโภคอาหารตามหลัก อาหารแลกเปลี่ยนของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเสริมความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่าง และส่งเสริมให้เกิดปัจจัยชักนำ ในการกำหนด แผนการควบคุมอาหารร่วมกัน แก้ปัญหา อุปสรรคโดยการติดตามเยี่ยมบ้านจำนวน 5 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ เครื่องมือ 4 ชนิดได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกัน โรคของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความรู้ที่เพิ่มขึ้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ โดยคะแนนความรู้ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมและมากกว่าก่อนการทดลองทั้งความรู้ด้าน โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้ด้านอาหารแลกเปลี่ยน ไม่แตกต่าง หลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่า คะแนนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมและมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองลดลง และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ไม่แตกต่างกันระหว่างทั้งสองกลุ่มทั้งก่อนและหลังการ ทดลอง ข้อเสนอแนะ คือพยาบาลสามารถใช้โปรแกรมนี้เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการควบคุมอาหาร อย่างมีประสิทธิภาพของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อนำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 

EFFECTS OF DIET CONTROL PROGRAM USING FOOD EXCHANGE ON KNOWLEDGE, HEALTH BEHAVIORS, AND BLOOD GLUCOSE LEVELS AMONG PERSONS WITH TYPE 2 DIABETES IN DISTRICT HEALTH PROMOTING HOSPITAL

This quasi–experimental research aimed to examine the effects of a diet control program using food exchange on knowledge, health behaviors, and blood glucose among persons with type 2 diabetes in district health promoting hospitals. The sample of 60 type 2 diabetic patients were divided by purposive sampling into two groups, control (n=30) and experimental (n=30). The experimental group participated in a 12-week diet control program using food exchange based on the Health Belief Model concept. The program consisted of one education session for two hours using a video, a food exchange pamphlet, a plate model to enhance subjects’ understanding, meal planning, and five home visit follow-ups. Data were collected via four instruments: a demographic data questionnaire, health information records, a preventive behaviors of persons with diabetes questionnaire, a knowledge test. The data was analyzed through descriptive statistics, Paired t–test, and Independent t-test.

The results revealed a significant difference in the knowledge gained score between the two groups. The experimental group had a significantly higher knowledge gained score than the control group and significantly higher than the pretest score in knowledge of diabetes, complications, and prevention of diabetes aspects, but there was no significant difference in the food exchange aspect. After the program finished, it was found that the mean of health behaviors scores significantly increased compared to those in the control group and before the program. There was also a significant reduction in blood sugar (CBG) of the experimental group which was less than that in the control group. However, there was no significant difference of HbA1C levels between the two groups both before and after the program. It is recommended that nurses can use this program to effectively modify type 2 diabetic patients’ health behavior in diet control leading to glycemic control.

Downloads

How to Cite

เฟื่องฟุ้ง ส., กวีวิวิธชัย จ., & เปียซื่อ น. (2016). ผลของโปรแกรมควบคุมอาหารโดยใช้หลักอาหารแลกเปลี่ยนต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพ และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 34–49. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48577