พฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนที่เลือกสรร

Authors

  • นันทภรณ์ นรินทร์นอก นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมนึก สกุลหงส์โสภณ อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แสงทอง ธีระทองคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พฤติกรรมสุขภาพ, Persons with chronic illness, The sufficiency philosophy, Health behavior

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพบน พื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง อาศัยในชุมชนที่ เลือกสรร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 33 คน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามลักษณะบุคคลที่ใกล้เคียงกันใน 5 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไต และหลอดเลือดสมอง เก็บ ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการประชุม/การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ สถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่าผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย 2) การพออยู่ พอกิน และ 3) การประหยัด เก็บออม ส่วนความหมายสุขภาพ พอเพียงในมุมมองของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การทำไม่เกินกำลัง 2) การทำอย่างมีความสุข 3) การพึ่งตนเองก่อน และ 4) การใช้จ่ายด้านสุขภาพที่พอดีสำหรับพฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง พบรูปแบบ 3 อ.1 ส. และ 3 ช. ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบสำคัญคือ 1) การบริโภคแต่พอดี 2) การออกกำลังกายให้อยู่ในวิถีชีวิต 3) การจัดการด้านจิตใจ 4) การจัดการเรื่องบุหรี่ 5) การจัดการด้านการใช้ยา 6) การใช้บริการสุขภาพ และ 7) การใช้ข้อมูลด้านสุขภาพ

ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางด้านสุขภาพควรขยายการวางแผนส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังจากเดิมคือ 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา) แต่ตามบริบท ของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง ควรเพิ่มอีก 3 ช. (การใช้ยา การใช้บริการสุขภาพ และการใช้ข้อมูลด้านสุขภาพ) อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพพอเพียงอย่างยั่งยืน

 

HEALTH BEHAVIOR BASED ON THE SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY IN PERSONS WITH CHRONIC ILLNESS IN SELECTED COMMUNITY

This descriptive qualitative research design was undertaken to study health behaviors based on the Sufficiency Economy Philosophy in persons with chronic illness in a selected community. Thirty three purposive samples were divided to five groups following their characteristics that consisted of five diseases. Data were collected by focus group discussions, and analyzed by using descriptive statistics and content analysis

The sufficiently economic definition in participants’ perspectives was divided into three aspects: reasonably sufficient use, adequate consumption, and economic use. In addition, the health sufficiency meaning had four attributes: not working hard, being happy, self sufficiency and sufficient spending related to health. Chronic Health behavior model was three E one S and three U. In addition, health behaviors based on the sufficiency economy consists of seven characteristics: sufficient food intake, daily life exercise, psychological management, medicine management, health service utilization, health information management and smoking management.

These findings suggested that health care officers should plan to promote health behaviors based on persons with in the chronic illness’s context, leading to health sufficiency. Not only three E (Eating, exercise, emotion) two S (Stop drinking, stop smoking) for healthy behavior, but also three U (Drug using, health service using, and health information using) need to be done in person with chronic illness.

Downloads

How to Cite

นรินทร์นอก น., สกุลหงส์โสภณ ส., & ธีระทองคำ แ. (2016). พฤติกรรมสุขภาพบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนที่เลือกสรร. Journal of Public Health Nursing, 29(3), 1–18. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48570