กระบวนการและปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาสุขภาพชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Keywords:
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม, การถอดบทเรียน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม, Retrospect, Community participation, PAR, Philosophy of Sufficiency EconomyAbstract
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) มุ่งเน้นให้พัฒนาสุขภาพของประชาชนโดยใช้ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว งานวิจัยนี้เป็นการถอดบทเรียนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วม (PAR) ที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการพัฒนาสุขภาพประชาชนในชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปัจจัยความสําเร็จ กลุ่ม ตัวอย่างประกอบด้วยผู้นําชุมชนจํานวน 12 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จํานวน 5 คน ผู้สูงอายุจํานวน 12 คน วัยทํางาน จํานวน 7 คน วัยรุ่นและเด็ก จํานวน 12 คนและนักวิจัยจํานวน 5 คน เก็บข้อมูลใช้วิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เจาะลึกและ การสังเกต ใช้วิธีเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสรุปประเด็น ผลการศึกษาพบว่าการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเตรียมการระยะดําเนินการและระยะประเมินผล โดยระยะเตรียมการมีการเตรียมความพร้อมของนักวิจัยและผู้นําชุมชน โดยสร้างความรู้และทําความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระยะดําเนินการมีการใช้กลวิธีที่หลากหลายในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เช่น ระดมสมอง ฝึกอบรม สาธิต สื่อเพลงและจดหมายข่าว และระยะประเมินผลใช้วิธีประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและ ผู้เกี่ยวข้องทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ปัจจัยความสําเร็จของการวิจัยนี้ คือ การเตรียมความพร้อมของนักวิจัยในด้าน ระเบียบวิธีการวิจัยและหลักการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มเตรียมพื้นที่จนเสร็จสิ้น การประเมินผล การใช้เทคนิคที่หลากหลาย ความจริงใจและสัมพันธภาพที่ดี และการให้ความร่วมมือของผู้นําชุมชนและ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข การนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในหลักของความพอประมาณคือจัดกิจกรรมอย่าง พอดีตามความต้องการของชุมชนและให้การสนับสนุนกิจกรรมตามความเหมาะสม อย่างพอดีหลักของความมีเหตุผลคือ สนับสนุนให้ชุมชนคิดทบทวนถึงสาเหตุ ทางแก้ปัญหาและผลที่จะเกิดขึ้น และหลักของการมีภูมิคุ้มกันคือสนับสนุนให้ป้องกัน ความเสี่ยงหรือภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีทีมวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาอย่างรอบด้านไปพร้อมๆกันในทุกมิติและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
PROCESS AND SUCCESS FACTORS FOR COMMUNITY HEALTH DEVELOPMENT BASED ON PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY
The 11th Health Development Plan (B.E. 2555-2559, A.D. 2012-2016) aims to make Thais healthy based on the sufficiency economy philosophy of His Majesty the King. This study was a project retrospective of a participatory action research (PAR) using sufficiency economy philosophy to develop community health in a community in Nakornpathom province. The objective was to study the process of community health development and success factors. Key informants included 12 community leaders, 5 health personnel, 12 elders, 7 working age, and 12 adolescent and children. Focus group discussion, in-depth interview, and observations were conducted to collect data. The data were analyzed by content analysis and thematic analysis. Results showed that the PAR process composed of 3 stages including preparation, intervention, and evaluation. For the preparation stage, researchers and community members were taught to understand the sufficiency economy philosophy. The intervention stage, variety techniques were used such as brain storming, training, demonstration, music, and newsletter. And the evaluation stage, researchers and community members used both qualitative and quantitative methods to evaluate the program. Success factors were: preparing the researchers in terms of research methodology and principle of sufficiency economy philosophy; using community participation in every stage; utilizing effective techniques and integrating sufficiency economy philosophy in activities; developing trust and good relationship; and good collaboration from community leaders and health personnel. Application of the philosophy in terms of ‘moderation’ was to support appropriate activities as need of the community; ‘reasonableness’ was to encourage the community members to think critically; and ‘self-immunity’ was to facilitate them to initiate activities that protect harm to health and environment. This study suggested multidisciplinary research team is needed to promote balanced development in all aspects.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)