ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่นในวัยรุ่นตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
พฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่น, วัยรุ่นตอนต้น, PRECEDE Model, Bullying Behavior, AdolescentsAbstract
การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายต่อพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นใน วัยรุ่นตอนต้น เขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Model กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่มีพฤติกรรมการข่มเหงรังแกผู้อื่น 137 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิด ตอบด้วยตนเอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ วิเคราะห์ความสามารถในการทำนายโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบ ขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่าวัยรุ่นตอนต้นมีพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นทางร่างกาย และทางสังคมในระดับต่ำ (ร้อยละ 75.2, 80.3 ตามลำดับ) ส่วนทางวาจาพบในระดับปานกลาง (ร้อยละ 46.7) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นทางร่างกายและทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ได้แก่ การใช้สื่อที่มีความรุนแรง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมในบ้าน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นทางวาจาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ได้แก่ การใช้สื่อที่มีความรุนแรง อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน สิ่งแวดล้อมในบ้าน สิ่งแวดล้อมในชุมชน และแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู และผลการ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนเป็นปัจจัยทำนายพฤติกรรมข่มเหงรังแก ผู้อื่นทางร่างกาย โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 18.9 (p-value < .001) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและการใช้สื่อที่มีความรุนแรงเป็นปัจจัยทำนายพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่นทางวาจา โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 25.5 (p-value < .05) ส่วนอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนและสิ่งแวดล้อมในบ้านเป็นปัจจัยทำนายพฤติกรรมข่มเหงรังแกผู้อื่น ทางสังคม โดยสามารถร่วมทำนายได้ร้อยละ 27 (p-value ≤ .001)
จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันและการแก้ไขปัญหาการข่มเหง รังแกและความรุนแรงในโรงเรียนเชิงรุก โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว เพื่อน โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้วัยรุ่นตอนต้นได้รับการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
PREDICTIVE FACTORS FOR ADOLESCENT BULLYING BEHAVIOR IN THE BANGKOK METROPOLITAN
The objective of this cross-sectional survey is to study the factors predicting bullying behavior in adolescent in the Bangkok metropolitan by using PRECEDE Model. The population student who exhibit bullying behavior, totaling n = 137. A multi-stage sampling method and self-administered questionnaire were applied. Data were analyzed in average value, standard deviation value. Chi-Square test was used for correlation analysis. Pearson’s correlation analysis was used for prediction ability as well as Multiple Regression Analysis.
From the study results, typically adolescents exhibit physical and social bullying behavior at a low level (75.2% and 80.3% accordingly), verbal bullying behavior in medium level (46.7%). Factors that are statistically significant related to physical and social bullying behavior (p-value < .05) are exposure to violent media, the friend’s influence of friend and associates, household environment and neighborhood environment. Factors that are statistically significant related to verbal bullying behavior (p-value < .05) are violent media consumption, friend’s influence, household environment, neighborhood environment and social supports from teachers. From the Multiple Regression Analysis, friend’s influences are a predictive factors for physical bullying by 18.9% (p-value ≤ 0.001). Friend’s influences and violent media consumption are predictive factors in verbal bullying behavior by 25.5% (p-value < .05). Friend’s influence and household environment are predictive factors in social bullying behavior by 27% (p-value ≤ .001).
The study results can be used to develop monitoring policies for the prevention and resolution of bullying problems proactively. Remedies will encourage positive contributions from parents, friends, schools, neighborhood and related communities for adolescents to receive proper care.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)