การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของคนไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำแนกโดยเพศ อายุ และระดับการศึกษา

Authors

  • สิริรัตน์ ลีลาจรัส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี (สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จิราพร ชลธิชาชลาลักษณ์ อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี (สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วรรณา สนองเดช อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี (สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพชุมชน) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, พฤติกรรมการออกก่าลังกาย, ความสม่่าเสมอในการรับประทานยา, ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง, Dietary-taking, Exercise, Medication adherence, Thais with hypertension

Abstract

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตซึ่งรวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และความสม่ำเสมอใน การรับประทานยามีความสำคัญกับการดูแลผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการดำเนินชีวิตดังกล่าวยังขาด การศึกษาร่วมกันในขั้นตอนเดียวในบริบทของปัจจัยส่วนบุคคลส่าหรับคนไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง การศึกษาวิจัย ดังกล่าวจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนชนิดที่ 1 ในการวิเคราะห์ทางสถิติ วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้ต้องการศึกษาปัจจัย ส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษาซึ่งเป็นตัวแปรอิสระแต่ละตัวต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาพร้อมกัน พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอายุและกลุ่มระดับ การศึกษาต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตทั้ง 3 พฤติกรรม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิในผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงจ่านวน 660 คนที่ อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทในช่วงปลายปี 2553 แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และความสม่ำเสมอในการรับประทานยา โดยค่า test-retest ของแบบวัด พฤติกรรมการรับประทานอาหารเท่ากับ .86 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกายและความสม่ำเสมอใน การรับประทานยามีค่าเท่ากับ .71 และ .64 ตามลำดับ ข้อมูลการศึกษาวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบหลายตัวแปร (One-way MANOVA) และการวิเคราะห์ Post hoc

ผลการศึกษาวิจัยพบว่าโดยภาพรวม มีเพียงอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตทั้ง 3 พฤติกรรม ส่วนเพศมีผล ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวและระดับการศึกษาไม่มีผลต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิตทั้งหมด เมื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มอายุต่างๆ กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารพบว่ากลุ่มอายุ 60-74 ปีและกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารดีกว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่ ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกายพบว่ากลุ่มอายุ 60- 74 ปีมีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่ากลุ่มอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ส่วนพฤติกรรมความสม่ำเสมอของการรับประทานยา พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่มมีความสม่ำเสมอในการรับประทานยามากกว่ากลุ่มวัยผู้ใหญ่

การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าควรค้นหากลวิธีในการช่วยเหลือกลุ่มวัยผู้ใหญ่ทั้งในบริบทของพฤติกรรมการรับประทาน อาหาร และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาให้ดียิ่งขึ้น ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกายนั้นในกลุ่มอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป ควรมีกลวิธีช่วยเหลือเพื่อให้ออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับวัย

 

DIETARY-TAKING, EXERCISE, AND MEDICATION ADHERENCE IN THAIS WITH HYPERTENSION BASED ON GENDER, AGE, AND EDUCATIONAL LEVEL

Lifestyle behaviors including dietary-taking, exercise, and medication adherence are important for caring Thais diagnosed with hypertension. However, these lifestyle behaviors still lack of the overall factual investigation with each demographic variable ---- gender, age, and educational level. Investigating these behaviors at once with each demographic variable is also the advantage because it helps reduce type I error in the analysis. This research study aimed to investigate each demographic variable ----gender, age, and educational level with lifestyle behaviors including dietary-taking, exercise, and medication adherence and to compare all lifestyle behaviors with age and educational groups, using secondary data (the end of 2010) of 660 Thais diagnosed with hypertension living in urban Bangkok and rural (outside Bangkok) areas. Questionnaires were composed of demographic information of gender, age, and educational level and questionnaires of dietary behaviors, exercise, and medication adherence. The test-retest reliability of dietary-taking behavior was .86. The internal consistency reliabilities of exercise behavior and medication adherence were .71 and .64 respectively. Descriptive analysis, one-way MANOVA, and post hoc analysis were used to analyze the data.

The results revealed that gender had the effect on dietary-taking behavior only and age had effects on all lifestyle behaviors; however, educational level had no effect on all lifestyle behaviors. In post hoc analysis, the group of ages 60-74 years and the group of age 75 years and over had better mean scores of dietary-taking behavior than the adult group (less than 60 years). The group of ages 60-74 years had better mean score of the exercise than the group of age 75 years and over. The groups of ages 60-74 years and age 75 years and over had better mean scores of medication adherence thanthat inthe adult group.

The study indicated that the adult group needed health strategies to better improve dietary-taking behavior and medication adherence. The age group of 75 years and over needed specific help to improve exercise appropriately.

Downloads

How to Cite

ลีลาจรัส ส., ชลธิชาชลาลักษณ์ จ., & สนองเดช ว. (2016). การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของคนไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำแนกโดยเพศ อายุ และระดับการศึกษา. Journal of Public Health Nursing, 29(2), 56–70. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48551