ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ เขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
ผู้สูงอายุ, ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, การดูแลตนเอง, Elderly, Uncontrolled Hypertension, Self-careAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง ต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในชุมชน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน เป็นผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 60-79 ปี มีระดับความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 2 ชุมชน เขตเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มทดลอง (n = 30) และกลุ่มเปรียบเทียบ (n = 30) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ และฝึกทักษะการดูแลตนเอง ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนและ การจัดการตนเอง การเยี่ยมบ้าน การสนับสนุนและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง การอภิปรายกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติ เก็บข้อมูลโดยผู้วิจัย ด้วยแบบสัมภาษณ์ก่อนและหลัง ได้รับโปรแกรมฯ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test ภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม การดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)
ผลการศึกษาครั้งนี้สนับสนุนผลของการประยุกต์ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง ต่อการเพิ่ม พฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตเมืองอื่นๆและนำโปรแกรมไปใช้ในกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุหรืออาสาสมัครสาธารณสุขในการกำกับติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษา ความคงทนของพฤติกรรม และผลลัพธ์ระยะยาวของโปรแกรมการส่งเสริมการดูแลตนเอง ของกลุ่มผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตที่ควบคุมไม่ได้และโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป
EFFECTS OF SELF-CARE PROMOTING PROGRAM ON SELF-CARE BEHAVIOR AMONG OLDER ADULTS WITH UNCONTROLLED HYPERTENSION IN BANGKOK METROPOLITAN
This quasi-experimental study was conducted to evaluate self-care behavior among community-dwelling older adults with uncontrolled hypertension. A total of 60 subjects, and 60- 79 years old with blood pressure over 140/90 mmHg within past 6 months, who met inclusion criteria and lived in the two communities in Bangkok metropolitan, were randomly assigned to be in an experimental (n = 30) and a comparison groups (n = 30). The experimental group received a 6-week self-care promoting program, consisting of health education and skill training regarding hypertension, self - management, and complication prevention; home visit; weekly telephone follow-up; and group discussion. The comparison group received regular services from the same primary health care center. Data were collected by the researcher using questionnaires before and after the intervention.
According to t-test analysis, after the intervention, the experimental group had significantly higher mean scores of self-care behavior than before the intervention, and those in the comparison group (p-value < .001).
The findings support that the self-care promoting program, in applying the Self-care Deficit Nursing Theory, can increase self-care behavior among older adults with uncontrolled hypertension. A community nurse practitioner should apply this program to promote self-care among older adults with other chronic diseases in other urban communities. In addition this program can be applied for elderly leader groups and village health volunteer for monitoring chronic disease in community. A further study should examine the retention of self-care behavior and the long term effects of the program among older adults with uncontrolled hypertension and other chronic disease.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)