ผลของสื่อมัลติมีเดียและการฝึกปฏิบัติกับหุ่นต่อความรู้และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • สุธิศา ล่ามช้าง รองศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

สื่อมัลติมีเดีย, การฝึกปฏิบัติกับหุ่น, การปฏิบัติการพยาบาล, เด็ก, โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน, Multimedia, Model practice, Nursing practice, Children, Acute respiratory tract infection

Abstract

สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการเรียนรู้ด้วนตนเองที่สามารถส่งเสริมความรู้ของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อมัลติมิเดียและการฝึกปฏิบัติกับหุ่นต่อความรู้และความมั่นใจ ในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบ เฉพาะเจาะจงเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2556 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 76 คน สุ่มเข้ากลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลองตาม ตารางฝึกปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มละ 38 คน โดยนักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีเกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่แตกต่างกัน กลุ่ม ทดลองคือกลุ่มที่ได้รับการสอนก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กจากอาจารย์ร่วมกับการใช้สื่อมัลติมีเดียและการ ฝึกปฏิบัติกับหุ่น และกลุ่มเปรียบเทียบคือกลุ่มที่ได้รับการสอนก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลเด็กจากอาจารย์คน เดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อมัลติมิเดียเรื่องการปฏิบัติพยาบาลเด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อมัลติมีเดีย และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพยาบาลเด็กป่วยด้วยโรคทางเดิน หายใจเฉียบพลัน ซึ่งพัฒนาโดยสุธิศา ล่ามช้าง และ อุษณีย์ จินตะเวช (2556) และแบบวัดความมั่นใจในการปฏิบัติ พยาบาลเด็กที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันพัฒนาโดยผู้วิจัย ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เท่ากับ 0.81 ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้และแบบวัดความมั่นใจเท่ากับ 0.88 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที่

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติพยาบาลเด็กป่วย ด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p –value < .01)

หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และคะแนนความมั่นใจในการปฏิบัติพยาบาลเด็กป่วย ด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01)

ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าสื่อมัลติมิเดียเรื่องการปฏิบัติพยาบาลสำหรับเด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองร่วมกับการฝึกปฏิบัติกับหุ่น เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กเพิ่มขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กได้

 

EFFECTS OF MULTIMEDIA MATERIALS AND MODEL PRACTICES ON KNOWLEDGE AND SELF-CONFIDENCE IN NURSING PRACTICE FOR CHILDREN WITH ACUTE RESPIRATORY TRACT INFECTION AMONG NURSING STUDENTS

Multimedia can be used as a self-learning tool to promote knowledge among nursing students. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of multimedia materials and model practices on knowledge and self-confidence among nursing students in nursing practice for children with acute respiratory tract infection. A purposive sample included 76 fourth year nursing students enrolled in the academic year 2013, Faculty of Nursing, Chiang Mai University. Participants were randomized into either the comparison or experimental group, based on the practical block rotation, 38 students in each group. The two groups had no difference in means of grade point average (GPA). The experimental group received clinical teaching before pediatric nursing practice from a teacher and using multimedia materials and model practices. The comparison group received clinical teaching before pediatric nursing practice from the same teacher. The research instrument consisted of the Multimedia Materials about Nursing Practice for Children with Acute Respiratory Tract Infection, the Opinion of Multimedia Materials Questionnaire, and the Knowledge Regarding Nursing Practice for Children with Acute Respiratory Tract Infection Questionnaire which were developed by Lamchang and Jintrawet (2013) and the Self-confidence in Nursing Practice for Children with Acute Respiratory Tract Infection Questionnaire, developed by the researcher which the content validity index by 5 experts was 0.81. The reliability of the Knowledge Questionnaire and the Self-confidence Questionnaire were 0.88 and 0.98 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, and t-test.

The results of this study revealed that the experimental group had significantly higher knowledge scores and self-confidence scores in nursing practice for children with acute respiratory tract infection than those of the comparison group (p-value < .01)

After intervention, the experimental group had significantly higher knowledge scores and self-confidence scores in nursing practice for children with acute respiratory tract infection than before intervention (p-value < .01)

The findings of this study suggest that multimedia regarding nursing practice for children with acute respiratory tract infection can be used as a nursing educational tool with model practices. This tool was shown to be effective in promoting knowledge and increases confidence among nursing students when engaging in pediatric nursing practice and can be applied in nursing practice.

Downloads

How to Cite

ล่ามช้าง ส., & เกียรติวัฒนเจริญ ส. (2016). ผลของสื่อมัลติมีเดียและการฝึกปฏิบัติกับหุ่นต่อความรู้และความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเด็กป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันของนักศึกษาพยาบาล. Journal of Public Health Nursing, 29(2), 29–42. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48547