ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Authors

  • แสงเดือน กิ่งแก้ว อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • วันทนา มณีศรีวงศ์กูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ความต่อเนื่องสม่่าเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, Health Behavior, Medication Adherence, HIV

Abstract

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสควรจะรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับ การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย บรรยายแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร พฤติกรรมสุขภาพ และความ ต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 120 ราย ที่มา รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่นภาคลินิก ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ เครื่องมือ 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและสุขภาพ แบบสอบถามการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และแบบ ประเมินความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็น ร้อยละ 65 ค่าเฉลี่ยของ พฤติกรรมสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับดี คือ ด้านการมีสัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคล และด้านการจัดการความเครียด พฤติกรรม สุขภาพที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ และด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และ พฤติกรรมสุขภาพที่อยู่ในระดับไม่ดี คือ ด้านกิจกรรมและการออกกำลังกาย ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อาชีพ และ การมียาอื่นๆ ที่ต้องรับประทานร่วมกับยาต้านไวรัส มีความสัมพันธ์กับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอกับกลุ่มที่ไม่มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส ผล การศึกษาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วย ยาต้านไวรัส ซึ่งควรให้การส่งเสริมความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส ควบคู่ไปกับการส่งเสริมพฤติกรรม สุขภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเกิดจากการ รักษาด้วยยาต้านไวรัสในระยะยาว


RELATIONSHIPS BETWEEN SELECTED FACTORS, HEALTH BEHAVIORS AND MEDICATION ADHERENCE AMONG PEOPLE LIVING WITH HIV

People living with HIV receiving antiretroviral therapy should have optimal medication adherence and health promoting behaviors to enhance treatment and health outcomes. A descriptive correlational study was conducted to determine the relationships between selected factors, health behaviors and medication adherence. A sample of 120 people living with HIV was recruited from a NAPHA (National Access to Antiretroviral Therapy for People living with HIV/AIDS) Clinic in a selected tertiary care hospital in Thailand. A questionnaire for data collection composed of: demographic and health status information, health behaviors, and medication adherence.

It was revealed that about 65 percent of the subjects had moderate overall health behaviors. For averages of sub-components of health behaviors, the subjects had good scores on interpersonal relations and stress management; moderate scores on health responsibilities, nutrition, and spiritual growth; and poor scores on physical activity. This study also found no significant difference of health behaviors between the subjects with good medication adherence and those with poor medication adherence. In addition, having fixed job employment and having concomitant drugs had significant relationships with medication adherences.

The results of this study are useful for health care teams in providing care to people living with HIV who receive antiretroviral therapy. More considerations should be given to enhancing medication adherence together with promoting healthy behaviors, to ensure the effectiveness of antiretroviral therapy and reduce cardiovascular risk due to long-term adverse effects of antiretroviral therapy.

Downloads

How to Cite

กิ่งแก้ว แ., มณีศรีวงศ์กูล ว., & วิสุทธิพันธ์ พ. เ. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมสุขภาพกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสของผู้ติดเชื้อเอชไอวี. Journal of Public Health Nursing, 29(2), 1–14. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48543