ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศ โดยแกนนำกลุ่มเพื่อน เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • บุญรักษา ญาณสาร พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลหางดง เชียงใหม่
  • อาภาพร เผ่าวัฒนา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุธรรม นันทมงคลชัย รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิด

Keywords:

การสื่อสารเรื่องเพศ, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, วัยรุ่นหญิงตอนต้น, แกนนาเพื่อน, Sexual communication skill, Peer leader, Sexual risk behavior, Early female adolescents

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศโดยแกนนำกลุ่มเพื่อนเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (อายุ 11-14 ปี) โรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 โรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 35 คน ระยะเวลาในการศึกษา 14 สัปดาห์ เป็นระยะทดลอง 5 สัปดาห์ และระยะติดตามผล 9 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ความรู้ในเรื่องผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (KR20 = .77) การรับรู้ในความสามารถของตนเองในการยืนยันในความคิดเห็น การปฏิเสธ และการต่อรองเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ พฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ (α=.95 .93 .92 .72 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test, Paired t-test, ANCOVA และ Repeated Measure one-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในเรื่องผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความสามารถตนเองในการยืนยันในความคิดเห็น การปฏิเสธ และการต่อรองเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ในระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์แตกต่างจากก่อนการทดลองแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value >.05) และมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในเรื่องผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .001)

การจัดโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศโดยแกนนำกลุ่มเพื่อนเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถเพิ่มความรู้ในเรื่องผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความสามารถตนเองในการยืนยันในความคิดเห็น การปฏิเสธ และการต่อรองเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ ส่งผลให้นักเรียนหญิงมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นได้

 

SEXUAL COMMUNICATION SKILL DEVELOPMENT PROGRAM BY PEER LEADER TO PREVENT SEXUAL RISK BEHAVIOR AMONG EARLY FEMALE ADOLESCENTS

The purpose of this quasi – experimental study was to examine the effect of sexual communication skill development program by peer leader to prevent sexual risk behavior among early female adolescents. The sample included mattayomsuksa 1st(age 11-14 years old) students from 2 schools in Chiangmai Province. One group was the experimental group with 33 female students, and the other was selected as the comparison group with 35 female students. This study was conducted over a period of 14 weeks with an intervention period of 5 weeks and a follow up periods of 9 weeks.Data were collected by self-administered questionnaires, sexual intercourse and sexually transmitted diseases, reliability of knowledge (KR-20)=.77, perceived self-efficacy in affirming opinions, refusing, negotiation in order to avoid sexual risk behaviors and sexual risk preventive behaviors, reliability (Cronbach’s Alpha) was .95 .93 .92 .72 respectively, Statistical analysis was performed by using percentage, mean, standard deviation, independent t-test, paired t-test, ANCOVA and Repeated Measure one way ANOVA.

The result indicated that, after intervention and follow up period, the experimental group had significantly higher mean score of knowledge, self efficacy in affirming opinion, refusing and negotiation in order to avoid sexual risk behaviors (p-value<.05). At the follow up, the experimental group had different mean score of prevention sexual risk behaviors when compared to before experiment, but it did not differ when compared to comparison group (p-value >.05).In addition, the experimental group had significant higher mean score of knowledge than the comparison group (p-value<.001).

The result indicated that, sexual communication skill development program by peer leader to prevent sexual risk behavior among early female adolescents had some effect on increasing knowledge self efficacy in affirming opinion, refusing and negotiation in order to avoid sexual risk behaviors and prevention sexual risk behaviors.

Downloads

How to Cite

ญาณสาร บ., เผ่าวัฒนา อ., นันทมงคลชัย ส., & เอื้อมณีกูล น. (2016). ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศ โดยแกนนำกลุ่มเพื่อน เพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 114–131. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48519