ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการหกล้มที่ใช้ชุมชนเป็นฐานต่อสมรรถภาพทางกายและการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร: การศึกษาติดตามผล

Authors

  • กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์ อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผจงจิต ไกรถาวร อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

รูปแบบการป้องกันการหกล้มโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, ผู้สูงอายุไทย, สมรรถภาพทางกาย, วิจัยเพื่อติดตามผลระยะยาว, Community-based fall prevention model, older adults, followed up study, physical performance

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อติดตามผล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการดำเนินงานการป้องกันการหกล้มและประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยรูปแบบการดำเนินกิจกรรมประกอบด้วย 1) การรณรงค์ป้องกันการหกล้มในชุมชน 2) การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม 3) การให้ความรู้ 4) การออกกาลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 5) การเยี่ยมบ้านเพื่อทวนสอบการใช้ยาและผลข้างเคียงและการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและ 6) ระบบการเฝ้าระวังการหกล้มในชุมชน ซึ่งเป็นการดาเนินงานในชุมชนเมืองแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 28 คน และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ แกนนำโครงการป้องกันพลัดตกหกล้ม อาสาสมัครสาธารณสุข และ พยาบาลสาธารณสุข จำนวน 15 คน การเก็บรวบรวม ประกอบด้วย การสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินผลทางด้านกระบวนการ รวมทั้งประเมินอัตราการหกล้มและทดสอบสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติบรรยายวิเคราะห์อัตราการเกิดการหกล้ม และ ใช้สถิติ Paired T-test สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และ McNemar Test ทดสอบความแตกต่างของสมรรถภาพกาย

ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมีความต่อเนื่อง โดยแกนนำเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้อย่างอิสระ การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้ม การให้ความรู้ และการเยี่ยมบ้าน ต้องอาศัยความร่วมมือจากพยาบาลสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและในชุมชนมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ โดยพบอัตราการเกิดหกล้มของผู้สูงอายุในระยะเวลา 3 ปี ร้อยละ 7.14 ต่อปี ด้านสมรรถภาพทางกาย พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการออกกำลังกายเป็นประจำ มีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น ในด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (t = 3.952, p-value <.01) ความสามารถใน การทรงตัวและการเดิน (z = 3.061, p-value <.01) และการหมุนรอบตัว (z = 1.961, p-value <.05) ซึ่งสนับสนุนว่ารูปแบบการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นประสิทธิผลในการป้องกันกันการหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน โดยผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกันการหกล้ม โดยเฉพาะกิจกรรมการออกกำลังกายที่มีความยั่งยืนเนื่องจากผู้สูงอายุสามารถทำได้ด้วยตนเองและสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้ ขณะที่พยาบาลสาธารณสุขมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและกระตุ้นให้กิจกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

 

THE EFFECTIVENESS OF COMMUNITY-BASED FALL PREVENTION MODEL TO PHYSICAL PERFORMANCE AND FALL AMONG OLDER ADULTS IN AN URBAN COMMUNITY BANGKOK: THE FOLLOW UP STUDY

This study aims to evaluate the effectiveness of the community-based fall prevention model over a 3-year follow-up period. The model consisted of 1) a multi-factorial fall risk assessment, 2) a fall campaign, 3) a fall education, 4) a balance exercise training, 5) home visits for medication review and for home hazard management, and 6) a fall management system. An urban community in Bangkok was a setting of this study. The sample consisted of 28 elders and 15 fall leader team. Focus group was conducted among fall leader team for assess the sustainability of the model. All qualitative data was evaluated via content analysis. An annual fall rate was collected from the surveillance form while the physical performance was measured after 3 years of balance exercise training. A paired t-test Wilcoxon Signed Ranks Test and McNemar test were used to examine differences in physical performance.

The results showed that the community could maintain this model by themselves over 3 years. Exercise training operated by fall leader team while fall risk assessment, a fall education, and home visit was supported by public health nurse. However, home and community hazard modification had limitation due to their budget. The fall incidence was 7.14 % in each year. Older adults who participated in group exercise regularly had physical performance improvement: Five times sit to stand (t = 3.952, p-value <.01), Timed up and go test (z = 3.061, p-value <.01), and Turn 360 degree (z = 1.961, p-value <.05). This finding suggested that community-based fall prevention model was effective model and sustainability. Older adults had capability for preventing falls by themselves especially exercise activity which was a sustainable activity that can improve and maintain the physical performance. Public health nurse was a facilitator and supporter for ongoing activities.

Downloads

How to Cite

กิตติพิมพานนท์ ก., & ไกรถาวร ผ. (2016). ประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการหกล้มที่ใช้ชุมชนเป็นฐานต่อสมรรถภาพทางกายและการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร: การศึกษาติดตามผล. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 98–113. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48513