ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

Authors

  • เปรมจิตร์ ตันบุญยืน พยาบาลวิชาชีพชานาญการ โรงพยาบาลบ้านบึง
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พรนภา หอมสินธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

คุณภาพชีวิต, เอชไอวี, เอดส์, Quality of life, utility, HIV/AIDS

Abstract

โรคเอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการเจ็บป่วยและผลกระทบที่ซับซ้อนและรุนแรงมากกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอื่นๆ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ขึ้นทะเบียนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรีมีจำนวน 284 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียลและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิเคราะห์ พบว่าคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งประเมินคุณภาพ ชีวิตโดยวิธี Standard gamble ได้ค่าคะแนนอรรถประโยชน์เฉลี่ย เท่ากับ .63 (.35) ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของค่าเฉลี่ย เท่ากับ .59 -.67 การวิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สถานภาพสมรสคู่ (r =.13) รายได้ (r =.11) แรงสนับสนุนทางสังคม (r =.20) ปริมาณเม็ดเลือดขาวซีดีโฟลิมโฟไซต์ (r =.16) ภาวะซึมเศร้า (r =.32) และภาวะสุขภาพในปัจจุบัน ที่มีอาการผิดปกติ (r = - .12) และพบว่าภาวะซึมเศร้า ปริมาณเม็ดเลือดขาวซีดีโฟลิมโฟไซต์ต่อ 100 เซลล์ และสถานภาพสมรส สามารถร่วมทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ได้ร้อยละ13.70 (\inline R^{2} = .137, F= 14.79, p-value <.01) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ -.26, .02 และ .12 ตามลาดับ

ข้อเสนอแนะ บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสาคัญในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้มากขึ้นเนื่องจากคุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะคนที่ยังเป็นโสดที่พบว่ามีคุณภาพชีวิตต่ากว่าคนที่แต่งงาน และควรดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้ครอบคลุมทั้งมิติด้านกายให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวซีดีโฟลิมโฟไซต์ที่สูงขึ้นร่วมกับมีระบบการเฝ้าระวังและการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า

 

QUALITY OF LIFE PREDICTORS OF PEOPLE LIVING WITH HIV/AIDS

AIDS is a major public health problem in all countries, including Thailand. AIDS causes problems of illness and has impact which is more complex and severe than other chronic illnesses. This research, which was a predictive study, aimed to study factors predicting quality of life of those infected with HIV and AIDS at one community hospital in Chon Buri province. Sample was 284 HIV infected people and AIDS patients registered as HIV infected and AIDS patients. The sample was drawn by simple random sampling method. Data were collected between 29 March – 15 April 2013with questionnaires and interviewing. Data were analyzed by descriptive statistics, Pearson correlation coefficients, point biserial correlation, and stepwise multiple regression.

The results showed that quality of life of sample of HIV-infected and AIDS patients, which was analyzed by Standard gamble had the utility scores average of 0.63 (0.35), with 95 percent confidence interval of the mean of 0.59 to 0.67. For univariate analysis, marital status (r = .13), income (.11) present physical health problems (r = - .12), CD4 count (r = .16), social support (r = .20) and depression score (r = .32) were significantly associated with quality of life. For multivariate analysis, the multiple regression models using Stepwise procedure showed that depression (b = -.26), 100 cells CD4 count (b = .02) and marital status (b = .12) could explain 13.70 % of the variations the quality of life of patients with HIV/AIDS. (\inline R^{2} = .1370, F = 14.79, p-value <.01).

Suggestion: Health personnel should pay more attention on caring of those infected with HIV and AIDS since the level of quality of life of those infected were not satisfactory high. Especially for those who are single the level of quality of life is lower than that of those who are married. Also, caring of those infected with HIV and AIDS should cover both the physical dimensions that the body has higher amounts of CD4 lymphocyte and having the surveillance system and promoting the mental health to prevent depression.

Downloads

How to Cite

ตันบุญยืน เ., ลีลัคนาวีระ ย., & หอมสินธุ์ พ. (2016). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 80–97. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48511