การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อ การสอนระหว่างสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิก ในด้านความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและทักษะการให้นมมารดาของ สตรีหลังคลอด

Authors

  • มัทนา สังวาลย์ พยาบาล หอผู้ป่วยพิเศษสูติ-นรีเวชฯ งานการพยาบาลสูติ-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ หัวหน้างานการพยาบาลสูติ-นรีเวชวิทยา ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

สื่อวีดีทัศน์, สื่อภาพพลิก, การปฏิบัติตัวหลังคลอด, ทักษะการให้นมมารดา, สตรีหลังคลอด, video instructions, flip chart, postpartum practices, breastfeeding skills, postpartum women

Abstract

การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด ทักษะการให้นมมารดาของสตรีหลังคลอด และประเมินคุณภาพของสื่อการสอน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์กับกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยภาพพลิก กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี จานวน 100 คนโดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 50 คน กลุ่มทดลองได้รับการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการสอนด้วยภาพพลิก ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการทดสอบความรู้ ด้วยแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอดและแบบประเมินทักษะการให้นมมารดา ทั้งก่อนสอน (pre-test) และหลังสอน (post-test) รวมทั้งตอบแบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติบรรยาย เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกลุ่มด้วยไคแสควร์ เปรียบเทียบคะแนนความรู้ และทักษะระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติที่ เปรียบเทียบคะแนนประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์และภาพพลิกระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและทักษะการให้นมมารดาเมื่อเปรียบเทียบก่อนสอนและหลังสอนภายในกลุ่มทั้ง 2 วิธีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ดีกว่าภาพพลิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อเปรียบเทียบ คะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและทักษะการให้นมมารดาระหว่างการสอนผู้ป่วย ทั้ง 2 วิธี ไม่มีแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value >.05

จากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่ารูปแบบการสอนทั้งสองวิธีได้ผลไม่แตกต่างกันแต่การสอนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์มีคุณภาพดีกว่าภาพพลิก


COMPARATIVE STUDY ON THE EFFECTIVENESS OF TWO TEACHING MEDIAS: USE OF VIDEO AND USE OF FLIP CHART INSTRUCTIONS ON THE KNOWLEDGE OF POSTPARTUM WOMEN FOR POSTPARTUM PRACTICES AND BREASTFEEDING SKILLS

This quasi-experimental research aims to compare the scores of the knowledge for postpartum practices and breastfeeding skills, and to assess the quality of videotape and the flip chart. One hundred purposively sampling were selected from the postpartum women in the obstetric ward at Ramathibodi Hospital. All sample were equally classified into 2 groups, 50 postpartum women for the experimental group and the rest for the comparison group. Both groups answered self-administered questionnaire before and after learning about knowledge of postpartum practices, breastfeeding skills including the quality of videotape and flip chart. The experimental group received education by video instructions while the comparison group received education by flip chart. Data were analyzed using descriptive statistics, chi square test and t-test. The results showed that the average scores of the postpartum practices and breastfeeding skills after receiving education within both group were significantly increased than those before, at the level of .001. The experimental group had significantly higher mean of satisfaction scores of the quality of video media than the comparative group at the level of < .001. The average scores of the postpartum practices and breastfeeding skills between two medias were no significantly at the level of p-value .05. This study suggests that the two teaching medias are helpful for postpartum women, however the quality of video media is better than the flip chart.

Downloads

How to Cite

สังวาลย์ ม., & โรจนนิรันดร์กิจ น. (2016). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อ การสอนระหว่างสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิก ในด้านความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและทักษะการให้นมมารดาของ สตรีหลังคลอด. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 56–66. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48507