ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวของนักเรียนชายอาชีวศึกษาในจังหวัดสุรินทร์
Keywords:
การดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราว, วัยรุ่น, Binge drinking, AdolescentsAbstract
การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวของนักเรียนชายอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชายอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งหมด 221 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์จากการดื่มสุรา ความมั่นใจตนเองในการปฏิเสธการดื่มสุรา ความรู้สึกซึมเศร้า การเข้าถึงสื่อ และการรับรู้กฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มสุรา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติ Binary logistic regression
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกในการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราว (≥ 5 หน่วยต่อครั้ง) ร้อยละ 59.3 โดยพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (AOR = 3.18, 95% CI = 1.66 – 6.09) ความคาดหวังในผลลัพธ์จากการดื่มสุรา (AOR = 4.69, 95% CI = 2.48 – 8.86) และการรับรู้กฏระเบียบเกี่ยวกับการดื่มสุรา (AOR = 0.51, 95% CI = 0.27 – 0.98) ส่วนความมั่นใจตนเองในการปฏิเสธการดื่มสุรา ความรู้สึกซึมเศร้า ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ การดื่มสุราของเพื่อนสนิท การดื่มสุราของบุคคลภายในครอบครัว การเข้าถึงสุรา และการเข้าถึงสื่อไม่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราว
ผลการศึกษานี้นำไปสู่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวของนักเรียนชายอาชีวศึกษา อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนาไปพัฒนาโปรแกรม เพื่อการป้องกันการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวในวัยรุ่นไทยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
FACTORS RELATED TO BINGE DRINKING AMONG MALE VOCATIONAL STUDENTSIN SURIN PROVINCE
This study was a correlational research. The purposes of this study were to identify the prevalence of binge drinking and to examine factors related to binge drinking among male vocational students. Participants of 221 male vocational students in Surin province were randomly selected with multistage random sampling. The questionnaires were comprised of demographic, outcome expectation, drinking refusal self – efficacy, depression, media accessibility, and perception about alcohol drinking rules. Statistics including mean, percentage, standard deviation, and Binary logistic regression were used for data analysis.
The findings of the study demonstrated that the prevalence of binge drinking (5 or more drinks on a single occasion) was 59.3%. The significant factors related to binge drinking among male vocational students were academic success (AOR = 3.18, 95% CI= 1.66 – 6.09) outcome expectation (AOR = 4.69, 95% CI = 2.48 – 8.86) and perception about alcohol drinking rules (AOR = 0.51, 95% CI = 0.27 – 0.98). Meanwhile, drinking refusal self – efficacy, depression, availability of spending money, peer drinking, family member drinking, alcohol and media accessibility were not related to binge drinking.
This study results contribute to overall understanding and knowledge of the factors related to binge drinking among male vocational students. This will be beneficial to those involved to develop the effective programs to prevent Thai adolescents from binge drinking.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ตีพิมพ์และแผนภูมิรูปภาพถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาธารณสุข (Thai Public Health Nurses Association)