ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานนวดแผนไทย

Authors

  • กัญญ์ฐพิมพ์ บำรุงวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุรินธร กลัมพากร รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

กลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ, พฤติกรรมการป้องกัน, พนักงานนวดแผนไทย, Musculoskeletal disorder, Prevention behaviors, Thai massage practioners

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานนวดแผนไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร ตามกรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEDE Framework กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานนวดแผนไทย 320 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

 

ผลการวิจัยพบว่าพนักงานนวดแผนไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.2 มีอายุเฉลี่ยประมาณ 36 ปี (x = 35.5 S.D. = 9.9) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 26.9 มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,789 บาทต่อเดือน (x = 10,789.4 S.D. = 4,080.1) มีประสบการณ์การทำงานด้านนวดแผนไทยเฉลี่ยประมาณ 5 ปี (x = 5.3 S.D. = 5.1) ซึ่งโดยเฉลี่ยทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน (x = 6.1 S.D. = 1.1) และพบว่าทางานด้านนวดแผนไทยโดยส่วนใหญ่ 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 61.9 พนักงานนวดแผนไทยที่มีอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในรอบ 12 เดือน และ 7 วัน ก่อนการศึกษาพบว่ามีอาการผิดปกติบริเวณไหล่ในสัดส่วนสูงสุด ร้อยละ 55.6 สำหรับระดับของปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ด้านทัศนคติในการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและด้านการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การจัดสภาพแวดล้อมในการทางาน และการจัดระบบการทางาน ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม และระดับของพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่าปัจจัยนำ ได้แก่ ประสบการณ์ทำงาน ชั่วโมงการทำงาน ทัศนคติในการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ การจัดสภาพแวดล้อมในการทางานและการจัดระบบการทางาน และปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (p-value < .05) ผลวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบ โครงร่างและกล้ามเนื้อ ชั่วโมงการทำงาน การจัดระบบการทางาน การจัดสภาพแวดล้อมในการทางาน และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทานายพฤติกรรมป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานนวด แผนไทยได้ ร้อยละ 31.9

จากผลวิจัยมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมให้พนักงานนวดแผนไทยมีพฤติกรรมป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อที่ดีขึ้นนั้น เจ้าหน้าที่สุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมและสร้างการรับรู้ให้พนักงานนวดแผนไทยปฏิบัติท่าทางการทำงานให้ถูกต้อง สนับสนุนสถานประกอบการมีการจัดระบบงาน กำหนดชั่วโมงการทางาน และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

 

FACTORS INFLUENCING MUSCULOSKELETAL DISORDER PREVENTION BEHAVIORS OF THAI MASSAGE PRACTITIONERS

This cross-sectional research aimed to study factors influencing musculoskeletal disorder prevention behaviors of the Thai massage practitioner in Bangkok area. PRECEDE-PROCEED Framework was applied in this research. The sample consisted of 320 Thai massage practitioners, randomly selected by stratified cluster sampling. A self-administered questionnaire, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis were used.

The study showed that 87.2% of Thai massage practitioners was female with an average age of 36 years (x = 35.5, SD = 9.9) with half having completed high school education or lower. Average monthly income was 10,789 Baths (approximately 300 USD) (x = 10,789.4, SD = 4,080.1) in addition to an average of 5 years working experience (x = 5.3, SD = 5.1). Average working hours were 6 hours per day (x = 6.1, SD = 1.1) and 61.9% worked6 days per week. Subjects had experienced musculoskeletal disorders at least once in the past 12 months and 7 days showed that musculoskeletal disorders were mostly at the shoulder areas. For predisposing factors included Knowledge about musculoskeletal disorder prevention behaviors, Attitudes toward the prevention of musculoskeletal disorder prevention behaviors and Self-efficacy on musculoskeletal disorder prevention behaviors. Enabling factors included access to health information, work environment arrangement, and Organization of work system. Reinforcing factors included questions about receiving encouragement and musculoskeletal disorder prevention behaviors had a moderate level. Among predisposing factors, it was found that work experience, working hours, attitudes toward the prevention of musculoskeletal disorder prevention behaviors, and self-efficacy on musculoskeletal disorder prevention behaviors had relationships with musculoskeletal disorder prevention behaviors. Enabling factors were access to health information, work environment arrangement, and organization of work system. A reinforcing factor was receiving encouragement from co-workers, employers and health personnel who had familiarity with musculoskeletal disorder prevention behaviors. These factors were related to musculoskeletal disorder prevention behaviors in the Thai massage practitioner with statistical significance of 0.05. In addition, the results showed that perception of musculoskeletal disorder prevention behaviors, work environment arrangement, organization of work system, and receiving encouragement altogether could explain 31.9% of variance in musculoskeletal disorder prevention behaviors in the Thai massage practitioner.

The study suggested that in order to increase the level of musculoskeletal disorder prevention behaviors, health personnel should promote perception of musculoskeletal disorder prevention behaviors, especially correct working posture. Moreover, employers should properly set working hours, work environment arrangements and the organization of the work system to promote a better quality of life.

Downloads

How to Cite

บำรุงวงศ์ ก., กลัมพากร ส., & จิระพงษ์สุวรรณ แ. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ของพนักงานนวดแผนไทย. Journal of Public Health Nursing, 29(1), 15–28. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48493