ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

Authors

  • มลฤดี เพ็ชร์ลมุล อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

ภาวะความดันโลหิตสูง, ความรู้, การรับรู้, พฤติกรรม, ญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, Hypertension, Knowledge, Perception, Behavior, Hypertensive Patient’s Relatives

Abstract

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบ ที่ทาให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยไม่รู้ตัว ซึ่งข้อมูลทางสาธารณสุขพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอันเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงในอนาคต

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในชุมชนเจริญลาภ 5 และพรธิสาร 5 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จานวนตัวอย่าง 280 คน มีอายุ 18-59 ปี (Mean = 43.63; SD = 11.91) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ คะแนนการรับรู้ และคะแนนพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็มในแต่ละด้าน ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า อายุและดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01 และ .05 ตามลาดับ) ความรู้เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.19, p-value < .01) การรับรู้เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงที่ระดับ .01 (r=.19) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติ สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงที่ระดับ .001 (r= .58) ดังนั้นจึงควรมีการให้ความรู้ รณรงค์ ส่งเสริมสมรรถนะให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องเหมาะสม เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงที่ดีต่อไป

 

PREVENTIVE BEHAVIOR RELATED TO KNOWLEDGE AND PERCEPTION OF HYPERTENSION AMONG HYPERTENSIVE PATIENT’S RELATIVES

Hypertension is a silent killer disease that individuals may not know they have. In Thailand, The Ministry of Health has found increasing evidence of hypertension through the years, increasing the numbers of close relatives at risk of developing the disease. I ,therefore, studied the preventive behavior related to knowledge and perception of hypertension among relatives of patients with hypertension.

The purpose of this correlational study was to examine the relation between knowledge, perception and preventive behavior related to hypertension among hypertensive patient’s relatives who were living in Chereonlarb 5 and Pornthisarn 5 communities of Thanyaburi District, Pathumthani province. The sample was 280 participants age from 18 to 59 years (Mean = 43.63; SD = 11.91). Data were elicited by questionnaires including the Personal Data Questionnaire, hypertensive Knowledge Test, hypertensive perception, and preventive behavior related to hypertension questionnaire. The result showed that the samples have more than 50 percent of the total score in a part of knowledge, perception, and preventive behavior related to hypertension score. Age and body mass index were correlated to nutrition behavior score and statistically significant (p-value < .01 and .05 respectively). The score of knowledge were correlated to score of preventive behavior related to hypertension and statistically significant (r = .19, p-value <.01). The score of perception correlated to preventive behavior related to hypertension at the significant level of .01 (r=.19) whereas perceived self efficacy score correlated to preventive behavior related to hypertension at the significant level of .001 (r= .58). The recommendation of this finding is to provide strategies to increase the knowledge, encouraged, promoted self efficacy for appropriate preventive behavior related to hypertension.

Downloads

How to Cite

เพ็ชร์ลมุล ม. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. Journal of Public Health Nursing, 28(3), 175–187. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48482