ผลของการประยุกต์กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

Authors

  • อกนิษฐ์ ชาติกิจอนันต์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นฤมล เอื้อมณีกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์ ผู้ชวยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

นวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรัง, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, พฤติกรรมการป้อง กันโรคเบาหวาน, Innovative care for chronic condition framework, diabetic at risk group, behaviors

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์กรอบแนวคิด นวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนมีนาคม 2555 ระยะเวลา 13 สัปดาห์ กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการประยุกต์กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรังขององค์การอนามัยโลก (Innovative Care for Chronic Condition Framework: ICCC Framework) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ วัดผล ก่อนทดลอง หลังทดลองสัปดาห์ที่ 5 และระยะติดตามผลสัปดาห์ที่ 13 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เครื่องมือในการทดลอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับพฤติกรรมการปูองกันโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดและดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-Square, Independent t-test และ Repeated Measures ANOVA กำหนดระดับนัยสำคัญที่.05 ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกัน โรคเบาหวานดีกว่าก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) และมีค่าเฉลี่ย ระดับน้ำตาลในเลือดดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)

ข้อเสนอแนะจากการทำวิจัยครั้งนี้คือพยาบาลสาธารณสุขสามารถนำโปรแกรมจากการวิจัยนี้ไปประยุกต์ ใช้ในการป้องกันโรคเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดี

 

EFFECTIVENESS OF THE APPLICATION OF INNOVATIVE CARE FOR CHRONIC CONDITION FRAMEWORK FOR DIABETIC AT RISK GROUP

The purpose of this quasi experimental study was to examine the application of innovative care for chronic condition framework of diabetics at risk groups. The purposive sampling were assigned to the experimental group (n=30) and a comparison group (n=30).Completed a thirteenweeks from December 2011 until March 2012, the experimental group received the application of innovative care for chronic condition framework (ICCC Framework) and a comparison group received the normal care. Before and after 5 weeks and after 13 weeks of intervention, prevention behaviors (including diet control, exercise and stress management), fasting blood glucose, and body mass index were measured. The data were analyzed using mean scores, percentage, standard deviation, Chi-Square, Independent t-test, and Repeated Measures ANOVA. The level of significance was less than.05.The results showed the significant higher mean score regarding prevention behaviors among the participants in the experimental group after the program and significantly higher than the comparison group at p-value < .05. Besides, the significant mean score was found in fasting blood glucose levels in the experimental group better than the comparison group at p-value < .05.

It was suggested that public health nursing should apply the prevention program for diabetes at risk groups to achieve better health outcomes.

Downloads

How to Cite

ชาติกิจอนันต์ อ., เอื้อมณีกูล น., จันทนะโสตถิ์ พ., & รวิวรกุล ท. (2016). ผลของการประยุกต์กรอบแนวคิดนวัตกรรมการดูแลภาวะเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. Journal of Public Health Nursing, 28(3), 112–128. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48454