การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาพยาบาล

Authors

  • เอมอร ชินพัฒนะพงศา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • กนกวรรณ สุวรรณปฏิกรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้ความสามารถ, การตรวจเต้านมตนเอง, นักศึกษาพยาบาล, Perceived Benefit, Perceived Barrier, Perceived Self-efficacy, Breast Self Examination, Nursing Students

Abstract

ปัจจุบันมะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับแรกของมะเร็งในหญิงไทยมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถรักษาให้ หายขาดได้หากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกโดยการตรวจเต้านมตนเอง วิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ประโยชน์รับรู้อุปสรรค รับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเอง ของนักศึกษาพยาบาล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2552 จํานวน 475 คน ผ่านการพิจารณาอนุมัติการศึกษาวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยฯ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแบบจําลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูล ทั่วไป แบบประเมินการรับรู้ประโยชน์รับรู้อุปสรรครับรู้ความสามารถในการตรวจเต้านมตนเอง และแบบประเมิน พฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาโดยมีค่า สัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาคของแบบประเมินเท่ากับ 0.71, 0.85, 0.81 และ0.77 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติอ้างอิง และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีการรับรู้ประโยชน์ในระดับสูง (\inline \bar{X} = 4.54, SD = 0.33) รับรู้อุปสรรคใน ระดับต่ำ (\inline \bar{X} = 2.14, SD = 0.58) รับรู้ความสามารถในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 3.57, SD = 0.51) และมีพฤติกรรม การตรวจเต้านมตนเองในระดับปานกลาง (\inline \bar{X} = 2.45, SD = 0.52) การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ พฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเอง (r = 0.27, p-value <.01) การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรม การตรวจเต้านมตนเอง (r = - 0.48, p-value >< .01) และการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเอง (r = 0.54, p-value)

จากผลการวิจัยสนับสนุนว่าควรแสวงหาแนวทางในการเพิ่มการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความสามารถ รวมทั้งลดการรับรู้อุปสรรคในการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมการตรวจเต้า นมตนเองซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลตนเองของนักศึกษา เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ และการกระทําที่สําเร็จ ในเรื่องนี้จะนําไปสู่การปรับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในเรื่องอื่นๆ ด้วย ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไปควร ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการตรวจเต้านมตนเอง เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลเป็นแบบอย่างที่ดีในการ ตรวจเต้านมตนเอง

 

THE STUDY OF RELATIONSHIP BETWEEN PERCEIVED BENEFIT, PERCEIVED BARRIER, PERCEIVED SELF-EFFICACY AND BREAST SELF EXAMINATION BEHAVIOR IN NURSING STUDENTS

Nowadays breast cancer is the first leading cause of cancer in Thai women. It can be cured if it is detected at an early stage by breast self examination. This descriptive research was aimed to study perceived benefit, perceived barrier, perceived self-efficacy in breast self examination and breast self examination behavior in nursing students, The Thai Red Cross College of Nursing. The population was the 2nd to 4th year of nursing students, totally 475 persons. The research was approved by the Research Ethics Committee, The Thai Red Cross College of Nursing. The research tools were designed and developed by researchers following Pender ’s Health Promoting Behavior model which consisted of 3 parts as follow : demographic data ; perceived benefit, perceived barrier, perceived self efficacy and breast self examination behavior in nursing students. The Alpha Cronbach of the questionnaires were 0.71, 0.85, 0.81, 0.77 for perceived benefits, perceived barriers, perceived self efficacy, and breast self examination behavior parts respectively. The data were analyzed by using descriptive statistic, reference statistic and Pearson correlation coefficient.

The findings were summarized as follow: the perceived benefits was in high level (\inline \bar{X} = 4.54, SD = 0.33); perceived barriers was in low level (\inline \bar{X} = 2.14, SD = 0.58); perceived self efficacy was in moderate level (\inline \bar{X} = 3.57, SD = 0.51) and breast self examination behavior was in moderate level (\inline \bar{X} = 2.45, SD = 0.52). Perceived benefits was positive significantly related to breast self examination behavior (r = 0.27, p-value < .01). Perceived barriers was negative significantly related to breast self examination behavior (r = -0.48 p-value < .01).And perceived self efficacy was also positive significantly related to breast self examination (r = 0.54, p-value)

Based on the result of this research, to increase perceived benefits and perceived self efficacy including reducing perceived barriers should be lead to success in breast self examination behavior in all nursing students. In addition, It should be benefit for health caring and be a good model of health and leading to other health behaviors.

For the further research, the study should be developed the strategy to increase their self efficacy in breast self examination.

Downloads

How to Cite

ชินพัฒนะพงศา เ., & สุวรรณปฏิกรณ ก. (2016). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองของนักศึกษาพยาบาล. Journal of Public Health Nursing, 28(3), 14–29. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48357