ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ: เครือข่ายบริการสุขภาพภูเก็ต

Authors

  • ประพรศรี นริทร์รักษ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  • สุวรรณา หล่อโลหการ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

Keywords:

การพัฒนาคุณภาพ, การบริหารจัดการภาครัฐ, เครือข่ายบริการสุขภาพภูเก็ต, Public Sector Management, Quality Award, Phuket Health Service Network

Abstract

การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถอธิบายความ ผันแปร การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เครือข่ายบริการสุขภาพภูเก็ต จำนวน 287 คน ด้วยการสุ่ม ตัวอย่างอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบมีขั้นตอน

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อายุเฉลี่ย 40 ปี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งเฉลี่ย 9 ปี มีการรับรู้ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม อยู่ในระดับปานกลาง การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐในภาพรวม อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 2.52) โดยการรับรู้ในการกำหนดเป้าหมาย การออกแบบโครงสร้าง การบริหารจัดการ ระดับหน่วยงาน อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 2.67, 2.58 และ 2.51 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพล และอธิบายความผัน แปรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ได้แก่ กลยุทธ์และ ยุทธศาสตร์องค์การ ค่านิยมร่วมวัฒนธรรมองค์การ สภาพแวดล้อมองค์การ การมีส่วนร่วมแรงจูงใจ โดยสามารถ อธิบายความผันแปรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ได้ร้อยละ 55.4

ดังนั้น เครือข่ายบริการสุขภาพควรสร้างกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ที่เอื้อต่อค่านิยมร่วมวัฒนธรรมองค์การ และการนำปัจจัยเสริมโดยการจัดสภาพแวดล้อมองค์การ และการมีส่วนร่วมแรงจูงใจ เพื่อกำกับและประเมินผลการ พัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานบริการภาครัฐ


FACTORS INFLUENCING OF PUBLIC SECTOR MANAGEMENT QUALITY AWARD: PHUKET HEALTH SERVICE NETWORK

This cross-sectional survey research aimed to analyze factors influencing the Public Sector Management Quality Award (PMQA). The samples were 287 Phuket Health Service Network, selected by simple random sampling. The data were collected by questionnaire from July, 2014 to August, 2014. Data analyzed by Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis.

Results found that the sample mean age 40 years, time of position average 9 years. The perception of predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors were middle level. The opinion of Total PMQA were high level (mean 2.52). The Goal sector, Structure sector and Administration sector were high level (mean 2.67, 2.58 and 2.51). The statistically significant predictor with PMQA a statistical significance (p-value< 0.05) were strategy, value-culture, environment and participate-motivation variables. All 4 variables could explan the variance of 55.40% (Adjusted R2 =0.554) of PMQA in Phuket Health Service Network.

According to this research, strategy management in enabling factors should be promote by add value and culture individual, through reinforcing factors by improved environment and participatory learning toward monitoring and evaluated for improved standard quality in health service.

Downloads

How to Cite

นริทร์รักษ์ ป., & หล่อโลหการ ส. (2016). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ: เครือข่ายบริการสุขภาพภูเก็ต. Journal of Public Health Nursing, 28(3), 1–13. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48351