การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

Authors

  • ยุพา สุทธิมนัส พยาบาลวิชาชีพ ศูนย์สุขภาพชุมชนวัดแคนอก โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
  • วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ทวีศักดิ์ กสิผล อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Keywords:

ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้, ผู้สูงอายุ, ศักยภาพผู้ดูแล, แนวปฏิบัติการพยาบาล, Nursing care of uncontrolled hypertension patients, elderly person, capacity of caregivers, practice guideline

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โดยใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่มีผลทำให้ผู้ดูแลไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้แก่ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ใช้บริการของศูนย์สุขภาพชุมชนวัดแคนอก จังหวัดนนทบุรี จากนั้นค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์โดยกำหนดคำสำคัญเพื่อสืบค้นข้อมูล ได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องระหว่าง พ.ศ. 2549-2554 จำนวน 16 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิจัยเชิงทดลอง 4 เรื่อง กึ่งทดลอง 3 เรื่อง งานวิจัยและพัฒนา 1 เรื่อง เชิงพรรณนา 7 เรื่อง การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ 1 เรื่อง ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานโดยใช้เกณฑ์ของเมลนิคและไฟน์เอาท์- โอเวอร์ฮอล์ท จากนั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย จนได้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้และสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ประกอบด้วย 1 ข้อมูลทั่วไป 2. ความรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การรับประทานยา ปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมความดันโลหิต การไปพบแพทย์ตามนัด 3. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล 4. การแปลผลความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย  2) คู่มือสำหรับผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ตามระดับความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลที่ประเมินได้ 3) แบบบันทึกการดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้สำหรับผู้ดูแล 4) แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้สำหรับพยาบาลวิชาชีพ นำแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นไปหาความเป็นไปได้ในการใช้จริง โดยขอความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและทดลองใช้กับผู้ดูแล 31 ราย เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า ผู้ดูแลมีค่าเฉลี่ยความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ผลด้านกระบวนการและผลลัพธ์พบว่าแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้นใช้ง่ายไม่ซับซ้อนและพยาบาลวิชาชีพพึงพอใจแนวปฏิบัติการพยาบาล ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชุมชี้แจงผู้ใช้แนวปฏิบัติก่อนการนำไปใช้จริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งขั้นตอนและลำดับการใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีการนิเทศติดตามการดูแลของผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง

 

THE  DEVELOPMENT  OF  A  CLINICAL  NURSING  PRACTICE  GUIDELINEFOR  CAREGIVER  OF UNCONTROLLED  HYPERTENSIVE  ELDERLY  PATIENTS

The objective of this study was to improve the capacity of nursing care of uncontrolled hypertension patients. This study applied the knowledge from the Application of Evidence-Based Practice in The United States of America, by starting with finding causes of uncontrolled hypertension patients in Kae-Nog community, Nonthaburi, Thailand. Then, the researcher searched for related evidence by searching for key words from the data base. After that, the researcher evaluated the reliability of the evidence. The researcher finded 16 related articles published in 2007-2011: 4 articles of Experimental Research; 3 articles of Quasi-Experimental Research; 1 article of Research and Development; 7 articles of Descriptive research; 1 article of Quantitative and Qualitative Research. After analyzing and synthesizing results and data by evaluating the reliability of the evidence with Melnyl and Fineout-Overholt level, the practice guideline for increasing the capacity of nursing care of uncontrolled hypertension patients was created combined with : 1) knowledge and capability evaluation form of caregivers combined with 1. general information of caregivers, 2. knowledge about hypertension, food, exercise, complications, stress management, medication, risk factors for blood pressure control, medical appointment record forms of patients, 3. evaluation of self-perception, 4. evaluation of knowledge and capacity of caregivers separated in three levels; high, middle, and low level. 2) caregivers’ manual grouped by knowledge and capable perception of evaluation levels. 3) the document to record the symptoms and progress of patients 4) the record book for nurses visiting the uncontrolled hypertension elderly form. The practice guideline was evaluated by three experts prior to experimenting with 31 uncontrolled hypertension elderly. After the application of practice guideline for four weeks, the researcher founded that caregivers had  better knowledge about taking care of the uncontrolled hypertension elderly. The statistical significant value was at 0.05. The results showed that the practice guideline was simple and friendly user. Nurses were satisfied with guideline.  It is recommended that  the researcher should arrange session to explain how to use practice guideline, and monitor caregivers continuously.

Downloads

How to Cite

สุทธิมนัส ย., ดุรงค์ฤทธิชัย ว., & กสิผล ท. (2016). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. Journal of Public Health Nursing, 28(2), 81–90. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48339